กฎทองคำ 6 ประการของ Jack Welch
CEO โลกไม่ลืม
1. “ขีดเขียน กำหนดเส้นทางชีวิตของเราเอง
มิฉะนั้นผู้อื่นจะเข้ามาจัดการชีวิตเรา”
======
ความเห็นแอดมิน
เรารู้อยู่แล้วว่าการทำตามคำสั่งผู้อื่นนั้น
มันไม่สนุกเลยครับ แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะสมหวัง
ดังคำกล่าวที่ว่า “ไม่มีใครอยากเป็นลูกน้อง
แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะได้เป็นเจ้านาย”
ดังนั้นแม้จะยังไม่ได้ทำงานที่ชอบ
ก็ให้ชอบในงานที่ทำก่อนนะครับ
สำคัญที่เป้าหมายระยะยาวของเรา
จงมอบข้ามความลำบากระยะสั้น
และเก็บเกี่ยวมันเป็นประสบการณ์เถิด
2. “มองโลกตามความเป็นจริงในขณะนี้
ไม่ใช่ความจริงที่เคยเป็นในอดีต
หรือความจริงที่เราอยากให้มันเป็น”
======
ความเห็นแอดมิน
เราชินหูกับคำว่า New normal
ทั้ง ๆ ที่มันกลายเป็น Never normal
ไปแล้ว ดังนั้นองค์ความรู้หรือข้อมูลบางอย่าง
มันใช้หากินไม่ได้ จึงต้องบูรณาการใหม่
ไม่ยึดติดอยู่กับความสำเร็จในอดีต
คำว่ามองโลกตามความเป็นจริงนั้น
ช่างแสนดีตามวิถีชาวพุทธ
ไม่ลบหรือบวกมากเกินไป
หรือแม้กระทั่งการคิดบวกเทียม
คือคิดแต่มุมตัวเอง คิดแต่ว่าต้องเหนือกว่า
คนอื่น แบบนี้เข้าข้างตัวเองชัด ๆ ครับ
3. “โน้มน้าวใจ มิใช่บังคับขืนใจ”
======
ความเห็นแอดมิน
คนเราส่วนมากล้วนมากข้อคิดเห็นครับ
แต่ในชีวิตการดำเนินงานจริง ๆ นั้น
มันต้องใช้ข้อเท็จจริงประกอบ
ดังนั้นการโน้มน้าวใจใครสักคน
โดยเฉพาะคนที่มีการศึกษา
หรือเจ้าหน้าที่ระดับบริหาร
จึงต้องอุดมด้วยข้อเท็จจริงที่แน่นสุด
และในขณะเดียวกัน การโน้มน้าวจิตใจ
ของคนที่อยู่ระดับลูกน้องของเรา
ก็ไม่ต่างกัน
– ทุกคนต้องการผู้ฟังที่ดี
– ทุกคนต้องการเสนอมุมมองของตน
– ทุกคนเปลี่ยนแปลงได้ ถ้าบรรลุผลประโยชน์
ดังนั้นการโน้มน้าวใจจึงสำคัญ
และมันต่างจากการบังคับขืนใจ
อย่างสิ้นเชิงครับ
4. “จงจริงใจและตรงไปตรงมา”
======
ความเห็นแอดมิน
เคยได้ยิน “พูดตรง” กับ “พูดแรง” มั้ยครับ ?
มันต่างกันตรงที่
คนพูดตรงน่ะ อาจไม่หวานหู
แต่มันมีมูลความจริงและข้อเท็จจริง
ส่วนเจ้าคนพูดแรงนั้น
เต็มไปด้วย emotion ซะส่วนใหญ่
เผลอ ๆ เป็นความอคติล้วน ๆ
การแสดงออกซึ่งความจริงใจนั้น
เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ เพราะขวานผ่าซากไป
ผู้รับสารก็อาจไม่ยินดีรับฟังดัง คำกล่าว
“Speak from your heart,
not from your head.”
ที่ยังใช้ได้ดีอยู่เสมอครับ
5. “อย่าเปลี่ยนจุดยืน”
(ถ้าไม่จำเป็น)
======
ความเห็นแอดมิน
คนที่ทำธุรกิจน่าจะเข้าใจดี
หากผมยกตัวอย่างคำว่า
“Brand purpose” และ
“Value Proposition”
และผมขออธิบายง่าย ๆ ดังนี้ครับ
“Brand purpose” คือ “จุดยืน”
“Value proposition” คือ “จุดขาย”
“จุดยืน” นั้นเราไม่ค่อยมีเปลี่ยนแปลง
แต่ “จุดขาย” นั้นมันต้องตามสถานการณ์
ไม่งั้นตามตลาดไม่ทัน หรือจุดที่บอกว่า
ต้องเขียนโมเดลธุรกิจใหม่นั่นเอง
ในมุมการใช้ชีวิตประจำวัน
จุดยืนก็สำคัญไม่แพ้การดำเนินธุรกิจ
เป้าหมายชีวิตในฝันเป็นอย่างไร
ก็ต้องยึดมั่นไว้ แต่ต้องยืดหยุ่นให้ได้
เพราะยุค Never normal นั้น
อะไรก็เกิดขึ้นได้เสมอ แต่นั่นต้องมั่นใจว่า
มันจำเป็นจริง ๆ เท่านั้น มิฉะนั้นมันจะทำให้เรา
เป็นคนโลเล ขาดความเฉียบคม
แบบนี้ไม่มีทางไปถึงเป้าหมายแน่นอนครับ
6. “อย่าสู้ในสมรภูมิที่เราเสียเปรียบ”
======
ความเห็นแอดมิน
รู้เขา รู้เรา นั้นเป็นคำกล่าวที่ดีครับ
การรู้เขาต้องเป็นการ Benchmarking
เปรียบเทียบหมัดต่อหมัด
ถ้ามุมธุรกิจก็ดูว่า
– การตลาด
– การขาย
– ผลประกอบการ
– โลจิสติกส์
– ทรัพยากรบุคคล
– ระบบไอทีสารสนเทศ
ของคู่แข่งเป็นอย่างไร ? ย้อนหลังสัก 3-5 ปี
เมื่อทำได้ดังนี้ก็จะเห็นว่าเราจะพิชิตเขา
ได้อย่างไร ?
ทุกคนเกิดขึ้นมาบนโลกพร้อมกับ
บทบาทนักขายทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว
ไม่ว่าจะสาขาอาชีพใดก็ต้องมีคู่แข่ง
การหมั่นวิเคราะห์คู่แข่งเสมอเป็นเรื่องที่ดี
หลายท่านไม่เคยบกพร่องในการตัวเอง
ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีครับ แต่ต้องไม่ลืมว่า
ต้องไปประกบกับทรัพยากรและความสามารถ
ของคู่แข่งด้วย
“อย่าแค่ Create value
แต่ต้องเป็น Capture value ด้วย”
เป็นข้อคิดที่ผมเรียนจากวิชาวางกลยุทธ์
องค์กร และความหมายมันดีครับ นั่นคือ
“จงสร้างคุณค่าของตน
และคุณค่านั้นมันต้องสร้างผลประโยชน์ด้วย”
ถ้าคิดครบทุกมุมแล้วก็ลงแข่งครับ
นาทีนี้คงพร้อมชนทุกศึกแล้วล่ะ
ก้าวต่อไปครับ
หวังว่าที่เล่ามาทั้งหมดจะถูกใจทุกท่าน
ขอบคุณที่ติดตามเพจ
ธนบรรณ สัมมาชีพ