คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสน่าจะเป็นคนที่ล่วงรู้ถึง
พลังแห่งคำกล่าว “กองทัพเดินได้ด้วยท้อง”
เป็นอย่างดีที่สุด และนั่นทำให้เขาประสบ
ความสำเร็จในการค้นพบแผ่นใหม่ที่ใคร ๆ
ก็รู้กันในนาม “ทวีปอเมริกา”
คุณคงไม่คิดสินะครับว่า…
ชายคนหนึ่งมีความฝัน อยากไปสำรวจโลก
จึงได้ออกเรือไปพร้อมอุดมการณ์อันยิ่งใหญ่
เดินทางออกไปพร้อมแผนที่ เข็มทิศและมิตรสหาย
ผู้หวังว่าความฝันจะค้นพบแผ่นดินใหม่
ช่างเป็นความฝันที่ไม่ไกลเกินจริง
และใคร ๆ ก็ทำได้
ในโลกความจริงมันไม่ได้เป็นเช่นนั้นหรอกครับ
เราจะเดินทางไปต่างประเทศสักที่
ยังต้องดูทรัพย์สินเงินทอง เสบียงอาหาร
เพื่อวิเคราะห์ว่าจะบรรลุเป้าหมายปลายทาง
ได้หรือไม่
ยิ่งเป็นสถานที่ไม่เคยไปมาก่อน ยิ่งแล้วใหญ่
มันไม่สามารถเดินดุ่ม ๆ ออกไปแล้วอาศัยโชคชะตา
ได้เลย….มันง่ายเกินไปครับ
เมื่อปี ค.ศ. 1484 (พ.ศ. 2027)
โคลัมบัสนำเสนอโครงการสำรวจแผ่นดินใหม่
กับกษัตริย์แห่งโปรตุเกส เพื่อขอรับการสนับสนุน
พระราชทรัพย์สำหรับเป็นเงินทุนในการหล่อเลี้ยง
กองเรือ ซึ่งว่ากันว่าค่าใช้จ่ายไม่ใช่น้อย ๆ แน่นอน
และคุณเองคงไม่คิดใช่มั้ยครับว่า เมื่อเจอแผ่นดินใหม่
แล้วนั้น จะไม่เกิดการปะทะกับผู้อื่นมีแนวความคิด
เดียวกัน นั่นคือ ค้นพบแผ่นดินใหม่และค้นหาเส้นทางการค้าใหม่เช่นกัน
โชคไม่เข้าข้างครับ !!!
กษัตริย์แห่งโปรตุเกสไม่เอาด้วย เพราะโครงการนี้
เต็มไปด้วยความเสี่ยง แม้จะแอบคิดในใจว่า
“High risk, High return.”
แต่งานนี้มันเสี่ยงเกินไป
มีโอกาสคว้าลมหรือเจ๊งสูงมาก
เหตุการณ์พลิกผันไปในทางที่ดีขึ้น
เมื่อเสียงเพลง… เล่นของสูง… ดังกระหึ่มขึ้นมา
“รู้ว่าเสี่ยงแต่คงต้องขอลอง
รู้ว่าเหนื่อยถ้าอยากได้ของที่อยู่สูง
ยังไงจะขอลองดูสักที”
เพราะหลังจากได้นำเสนอโครงการสำรวจโลกนี้ไป
ไม่ว่ายักษ์ใหญ่อย่าง โปรตุเกส,อิตาลี,ฝรั่งเศส
และอังกฤษปฏิเสธเรียบ
จนมาสุดท้ายที่พระนางอิซาเบลลาแห่งสเปน
ที่โคลัมบัสเกหมดหน้าตักโดยพานักเจรจาต่อรอง
หลายคนเข้าร่วมนำเสนอต่อพระนางด้วย
นั่นแหละครับ โคลัมบัสจึงได้เดินหน้าโครงการต่อ
“แผ่นดิน! แผ่นดิน! ”
ในวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 1492 (พ.ศ.2035)
เวลาประมาณตีสอง เรือสำรวจของโคลัมบัส
เกยเข้ากับแผ่นดินใหม่หรือทวีปที่ไม่มีใครเคยรู้จัก
เมื่อภารกิจลุล่วง ความมั่งคั่งจึงหลั่งไหลเข้ามา
เมื่อสเปนพิชิตอเมริกาได้ ก็ได้ครองเหมืองเงิน
เหมืองทองหลายแห่ง และได้พื้นที่ทำเกษตรกรรม
อีกสุดลูกหูลูกตา
รสชาติแห่งความสำเร็จมันช่างหอมหวน
เป็นอย่างยิ่งจริงมั้ยครับ ?
เอาล่ะ! เดินทางมาถึงตอนนี้
ข้อคิดที่ต้องคำนึงถึงให้มากกับชีวิต
การทำงานของเรา นั้นคือ
1. งานธรรมดา ง่าย ๆ เขาให้เด็ก ๆ ทำครับ
(เด็ก ๆ หมายถึงฝีมือแค่ระดับเริ่มต้นหรือ
ระดับค่าเฉลี่ย)
2. งานยาก ๆ เขาเอาไว้ให้คนเก่งทำ
และผลตอบแทนจากการทำงานยาก
นอกจากได้เพิ่มคุณค่าชีวิตแล้ว
ผลพลอยได้คือ ผลตอบแทนในเรื่องเงินทอง
ซึ่งต้องนำไปใช้จ่ายกับเรื่องปัจจัยสี่
3. ความล้มเหลวคือบันไดขั้นแรก
ก่อนจะก้าวสู่ความสำเร็จ
เจ.เค. โรว์ลิ่งกับแฮร์รี่ พอตเตอร์
(วรรณกรรมของเธอ) โดนปฏิเสธ 12 ครั้ง
จากสำนักพิมพ์ต่าง ๆ แต่กลับมาโชคดี
ที่ Lucky number เลข 13
ซึ่งทำให้ชีวิตของเธอเปลี่ยนไปอย่างพลิกฝ่ามือ
ในกรณีของโคลัมบัสนั้น
โดนปฏิเสธจากโปรตุเกส,อังกฤษ
อิตาลี จนมาจบที่สเปน
นั่นแสดงว่า หัวใจของการไม่ยอมแพ้
จะนำมาซึ่งชัยชนะในที่สุด
4. อะไรที่ไม่เห็น ไม่ใช่ว่ามันจะไม่มี
ที่ใครต่อใคร ไม่กล้าลงทุนกับโคลัมบัส
เพราะไม่เชื่อในความฝันของเขา
และไม่กล้าเสี่ยง สุดท้ายแล้ว
การค้นพบทวีปอเมริกาก็ปลุกกระแส
ให้แต่ละอาณาจักรตื่นตัวกับการพัฒนา
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและเป็นจุดเริ่ม
ของลัทธิทุนนิยมตามลำดับ
ย้อนไปดูส่วนขั้นตอนนั้น มันสำคัญอย่างยิ่งว่า
โคลัมบัสและทีมงานนักเจรจาต่อรองนั้น
ย่อมต้องเจนจัดในการนำเสนอข้อมูล
ซึ่งเราจะเห็นว่าโคลัมบัสไม่ใช่แค่กัปตันเรือ
ที่รู้แค่เรื่องทะเลกับคลื่นลมเป็นแน่
5. ผมขึ้นต้นเรื่องด้วย
“กองทัพเดินได้ด้วยท้อง”
เพราะการคิดการใหญ่นั้นต้องพร้อมทุกมิติ
ทั้งเรื่องบริหารคนและทรัพยากรอื่น ๆ
ผมอ่านบทสัมภาษณ์ของเซอร์อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน
อดีตผู้จัดการทีม Manchester United
ได้กล่าวไว้ว่า นอกจากต้องจัดสรรผู้เล่นตัวจริง 11 คน
,ตัวสำรอง 7 คนแล้วนั้น เขายังต้องเตรียมพร้อม
นักเตะสำหรับ 3 ฤดูกาลล่วงหน้า นั่นแสดงว่า
ต้องมีปัจจัยเรื่องอายุเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
และเมื่อกองทัพเดินได้ด้วยท้อง
เงินทองจึงสำคัญอย่างมาก
รายได้หนึ่งคน อาจต้องคูณสามหรือสี่ให้เขา
(เพราะต้องเลี้ยงดูคู่ชีวิต บุพการีและลูกเต้า)
เมื่อทุกคนพร้อมเสี่ยงชีวิต อัตราผลตอบแทน
มันต้องคุ้มค่าอย่างที่สุด
หวังว่าทุกท่านจะได้ข้อคิดดี ๆ
เมื่ออยากทำโครงการให้บรรลุผล
ลองนึกถึงบทความนี้ หรือนึกถึงโคลัมบัส
พร้อมเรือกระโดงสามเสา ล่อยลองกลางมหาสมุทร
นี่อาจจะช่วยให้มีกำลังใจขึ้นมาไม่มากก็น้อย
ขอส่งกำลังใจครับ
ธนบรรณ สัมมาชีพ
====
ขอบคุณภาพจาก
https://www.thoughtco.com/real-life-pirates-of-the…
และข้อมูลอ้างอิงจากหนังสือ
Sapiens A Brief History
of Humankind แปลโดย ดร.นำชัย
และขอบคุณลูกเพจทุกท่านครับ