แม้กระทั่งคนที่รู้มาก ก็ใช่ว่าจะเป็นที่ยอมรับ
หากไม่เคยนำความรู้มาใช้ให้เป็นประโยชน์
ต่อส่วนรวมหรือกับตัวเองเลย
คงเคยได้ยินคำว่า “ร่ำเรียน” กับ “เรียนรู้”
ใช่มั้ยครับ ? ฟังดูก็คล้ายกัน แทบไม่แตกต่าง
แต่เมื่อเจาะลงไป มันจะเป็นเช่นไร ลองดูนะ
Study - ร่ำเรียน
มันเหมือนตอนสมัยเรียนไงครับ
เราเรียนทั้งคณิตศาสตร์, เคมี, ฟิสิกส์,
และอื่น ๆ อีกมากมายหลายวิชา
สุดท้ายก็เรียนไปเพื่อทำข้อสอบ
ผลคือสอบตกบ้าง สอบผ่านบ้าง
Learn - เรียนรู้
มันเป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
จากการสังเคราะห์ความรู้ ทักษะจนได้
พฤติกรรมใหม่ที่ดีขึ้น
นักจิตวิทยากล่าวไว้ครับว่า…
ถ้ามันซึมซับเข้าสมอง คือ เรียนรู้
ถ้ามันไม่ซึมซับเข้าสมอง ก็แค่ ร่ำเรียน
ทีนี้… ถ้าอยากมีอำนาจ พลังหรืออะไรก็ตาม
ที่ช่วยตัวเอง ช่วยเหลือสังคมได้ หรือต้องการ
ให้โลกยอมรับ มันจึงต้องอาศัยการเรียนรู้
เป็นหลัก ซึ่งมันเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญมาก
คิดง่าย ๆ แบบนี้ครับ
เราว่ายน้ำเป็น เพราะ ลองลงสระ จมน้ำไม่รู้
กี่ครั้ง กินน้ำสระน้ำคลองจนเต็มท้องกว่าจะ
ว่ายน้ำเป็น
เราเล่นเปียโนเป็น เพราะ ฝึกลงน้ำหนักนิ้ว
ลองหลับตาเล่น แม้กระทั่งขึ้นเวทีเล่นจริง
จนถึงเล่นหากินเป็นอาชีพได้
หรือเราปั่นจักรยานได้
นั่นเพราะเราตัดสินใจปิดตำรา
แล้วเริ่มลงมือปฎิบัติจริงเสียที
ของพวกนี้มันคือการเรียนรู้
มันแลกมากับหยาดเหงื่อ หยดน้ำตา ฝ่าน้ำลาย
มาเยอะจนซึมซับไว้เป็นประสบการณ์
อันดับต่อไปคือพัฒนาเป็นจุดแข็ง
ต่างจากกลุ่มคนที่ร่ำเรียนมาแต่ไม่เอาไปใช้อะไร
จนได้ฉายา “หนอนหนังสือ”… คือมันก็ดีนะครับ
แต่จะดีขึ้นถ้าอัพเกรดจากหนอนเป็นผีเสื้อเสียที
หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์
และเช่นเคย… ทุกท่านสามารถแลกเปลี่ยน
ความคิดเห็นได้เต็มที่ ผมยินดีรับฟัง
ขอบคุณครับ
ธนบรรณ สัมมาชีพ
============
ทุกท่านสามารถติดตามทุกความเคลื่อนไหวที่
http://www.2bfranchisedd.com/category/ข้อคิดคนทำงาน/
“นำเสนอปรัชญาชีวิต สร้างแรงผลักดัน
แรงบันดาลใจในการทำงานให้กับคนทำงาน
พร้อมให้คำแนะนำสำหรับผู้ประกอบการ
ที่สนใจขยายสาขาด้วยระบบแฟรนไชส์
อย่างจริงจัง”
Twitter : @Thanaban15