ที่พึ่งแห่งตน

เหนื่อยที่กาย ก็ต้องพักกาย
หากเหนื่อยที่ใจ ก็ต้องแก้ที่ใจ
ฟังดูมันเหมือนว่าอาการเหนื่อยใจ
จะแก้ไขได้โดยง่าย แต่ความจริงแล้ว
มันเป็นปัญหาระดับโลกเลยทีเดียว

มีโค้ชออกมาสอนฟรีหรือสอนเก็บเงิน
เป็นจำนวนไม่น้อย มาพร้อม How to
สู่ความสำเร็จหรือความสุข
แต่จะมีผู้เรียนสักกี่คนที่นำหลักการเหล่านั้น
ไปใช้จริง และทำให้ตัวเองมีสุขภาพจิต
และใจที่แข็งแรงได้

มีคนเป็นจำนวนไม่น้อยที่ไม่มีโอกาส
ได้พบปะพูดคุยหรือปรึกษากับ Life Coach
เพราะไม่มีเงินจ่ายค่าเรียน
หลายคนแม้กระทั่งเงินจะซื้อหนังสือ
หรือซื้อมือถือเครื่องแพงพร้อมเน็ตแรง
ยังไม่มีโอกาสเลย

การยืนด้วยลำแข้งตัวเอง บนต้นทุนที่ต่ำ
จึงเป็นสิ่งที่หนักหนาสาหัสเหลือเกิน
ในสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ทรุดหนักเช่นนี้
แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ทุกคนก็ต้องลุกขึ้นมา
ยืนหยัดต่อสู้ต่อเพื่อปากท้อง ของตนและครอบครัว

แต่ไหนมา…การเปลี่ยนแปลงทางใจที่
ทรงอานุภาพที่สุด ไม่ได้ขึ้นอยู่กับใครที่ไหนเลย
แต่มันขึ้นตรงกับเราโดยแท้ว่า
พร้อมจะฝ่าฝันอุปสรรค ปัญหาหรือยัง​ ?

บางปัญหามันแก้ไขเองไม่ได้
ต้องถามใจตัวเองว่าพร้อมที่จะเปิดใจรับฟัง
และยอมรับความช่วยเหลือ
จากผู้อื่นแล้วหรือไม่​ ?

ที่ต้องใช้คำว่า “ผู้อื่น” เพราะอะไร ?
ก็เพราะเขาเหล่านั้น ไม่ได้มาจมปลักอยู่
กับปัญหาที่เราเผชิญอยู่ จึงมักมีมุมมอง
ที่แตกต่างออกไป จนถึงขึ้นช่วยแก้ไขปัญหา
ให้ลุล่วงได้โดยที่เราก็คงคิดไม่ถึงมาก่อน

ที่สำคัญหากมีคนยื่นมือเข้ามาช่วยจริง ๆ
นั่นจะทำให้เราไม่รู้สึกโดดเดี่ยวอีกต่อไป
ซ้ำยังช่วยทำลายความคิด ความรู้สึกแนวลบ
ให้มลายหายไป ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็น
โรคทางจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรคเครียด ฯ
และอื่น ๆ อีกมากมาย

และก็แน่นอนอีกว่า ไม่ใช่ทุกคน
ที่จะมีผู้อื่นยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ
การหมั่นสร้างทัศนคติที่ดี
จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุด
ด้วยเข้ากฎ “ตนคือที่พึ่งแห่งตน”

ผมเชื่อเหลือเกินว่า หากเราดิ้นไม่หยุด
สักวันจะมีโอกาสได้พบเจอสิ่งดี ๆ
มันแค่ต้องอาศัยเวลา
อย่าหยุดความพยายามนะครับ

ขอบคุณครับ

ธนบรรณ สัมมาชีพ

============

สนใจ E-Book “หนึ่งร้อยก้าว ข้อคิดคนทำงาน”
แถมฟรี “679 คำคม” ราคาพิเศษ 199 บาท
เชิญคลิกที่ลิงค์
http://www.2bfranchisedd.com/ข้อคิดคนทำงาน/e-book-หนึ่งร้อยก้าว-ข้อคิด…/

ทุกท่านสามารถติดตามทุกความเคลื่อนไหวที่
http://www.2bfranchisedd.com/category/ข้อคิดคนทำงาน/
“นำเสนอปรัชญาชีวิต สร้างแรงผลักดัน
แรงบันดาลใจในการทำงานให้กับคนทำงาน
พร้อมให้คำแนะนำสำหรับผู้ประกอบการ
ที่สนใจขยายสาขาด้วยระบบแฟรนไชส์
อย่างจริงจัง”

ขอบคุณภาพจากเพจ Free humanity

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *