ธนาคารรู้วัฏจักรของธุรกิจดีกว่าเราอีกครับ
และเขาก็สนใจธุรกิจช่วงขาขึ้นมากเป็นพิเศษ
เพื่อปล่อยสินเชื่อและรับประทานดอกเบี้ยจากเรา
ส่วนช่วงขาลงนั้นเขาไม่ใส่ใจหรอก
ถึงคุณจะปิดกิจการ กัดก้อนเกลือกินผสมแกลบ
เคล้าน้ำตาและหยาดเหงื่อมันก็เรื่ิองของคุณ
ธนาคารเขาจะไปลงรายละเอียดอื่นเพื่อให้คุณ
ชำระหนี้ตามกฎหมายซะมากกว่า
คนรอบข้างเราก็จะมีพฤติกรรมละม้ายคล้ายคลึง
พอได้กลิ่นเรื่องผลประโยชน์ก็จะตบเท้าเข้ามาจีบ
หรือทักทายปราศรัยเผื่อได้อะไรติดปลายนวม
อ้าว… แล้วตอนเราตกต่ำล่ะ จะเห็นหัวเรามั้ย
โถ มันตอบยากนะครับ พ่อคุณ แม่คุณเอ๊ย
มันจึงได้มีคำจำกัดความของคำว่า
“เพื่ิอนกิน” กับ”เพื่ิอนตาย” ออกมาให้เราจำแนกไง
เพื่อนคุณอาจเป็นเพื่อนตายหวังพึ่งพาได้
แต่อย่าได้แอบหวังเชียวนะ
ว่าธนาคารจะเป็นเพื่อนตายของคุณ
เพราะจริง ๆ แล้วเมื่อเงินขาดมือจนชำระหนี้ไม่ได้
เจ้าธนาคารนี่แหล่ะ… จะเขมือบคอหอยคุณ
เป็นภาระกิจแรก แทนที่จะเป็นเพื่อนตาย
มันกลับส่งเสริมให้คุณพบบทอวสาน(ตาย)เร็วยิ่งขึ้น
เฮ้ย… เล่ามาตั้งนานขอสรุปละกัน เพราะไม่งั้น
มันจะเปลืองเวลาอันมีค่าของแต่ละท่าน
ผมแค่อยากบอกว่า
“เรามักอยากลงทุนกับคนที่มีอนาคต
แต่คนที่มีอนาคตล้วนต้องผ่านบททดสอบมั้ยล่ะ ?
คนที่มีอนาคตอาจจะเคยผ่านการเป็นหนี้มาก่อน
แล้วไม่ได้ยอมแพ้แถมยังพาตัวเองกลับมา
สู่เส้นทางได้ “
และอีกมุมมองคือ
“ช่วงที่ตกต่ำ อย่าไปคิดเลยว่าจะมีใครยื่นมือมา
ให้ความช่วยเหลือ คุณต้องพึ่งพาตัวเองให้สุด
ถ้าไม่สุดจริง เตรียมรับผลกระทบได้เลย”
มองใจเขา ใจเรา
ธนาคารเองก็ใช่ว่าจะรอด เมื่อโดนกระแส Disrupt
ก็ต้องลดต้นทุน เช่น เลิกจ้างพนักงานไปจำนวนมาก
เมื่อทุกฝ่ายต่างป้องกันตัวเอง
หน้าที่ของเราคือ ต้องเข้าใจ
#ไม่ใช่อยู่ในสภาวะโลกสวยอีกต่อไป
ขอบคุณครับ
ธนบรรณ สัมมาชีพ