หมื่นชั่วโมง ?


“ทฤษฎีหมื่นชั่วโมงช่วยเปลี่ยนคนธรรมดา
เป็นระดับแนวหน้าครับ” (ทฤษฎีหมื่นชั่วโมง
ว่าด้วย การที่เรามุ่งมั่นทำอะไรก็ตามเป็นเวลาหมื่นชั่วโมง เราก็จะเก่งจนเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น)
แต่ก็มีหลายคนที่แจ้งเกิด ตั้งแต่เข้าหลักพัน
หลักร้อยชั่วโมงแล้ว นั่นเพราะเขาไม่ได้
ใช้ช้อนวิดน้ำในคลองหรือขี่ช้างจับตั๊กแตน
แต่เป็นการฝึกฝน พัฒนาอย่างมีสติ มีขั้นตอน และมันคือกุญแจสู่ความสำเร็จอย่างแท้จริง

การรบก็เช่นกัน การรบที่ยืดเยื้อไม่เคยให้ประโยชน์กับใครทั้งนั้น การรบต้องเน้น
เผด็จศึกให้เร็วที่สุด เพื่อบริหารทรัพยากรที่มี
อยู่ให้พอเพียง เพราะพิษของสงครามที่ยืดเยื้อนั้น ทำให้เสบียงอาหารร่อยหรอ และสูญเสียขวัญกำลังใจ

ในวงการผลิต เป็นที่ทราบกันว่า หากใช้เวลาผลิตน้อยลง ย่อมประหยัดค่าไฟ, เชื้อเพลิง, ค่าแรงงานและค่าเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ ได้

การทำธุรกิจก็ด้วย หากชักช้าคงพลาดท่า
ให้กับคู่แข่งที่เร็วกว่าแบบน่าเจ็บใจ

ผมเห็นด้วยกับการฝึกซ้อมและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง แต่สิ่งที่ต้องคำนึงถึงอยู่เสมอ
คือ มันทันเหตุการณ์หรือทันกินหรือไม่ ?

ลองคิดตามง่ายๆแบบนี้ครับ
ถ้าเจ้านายต้องการให้คุณเก่งขึ้นภายใน 6 เดือน แต่คุณก็ยังยืนยันว่าต้องศึกษาเรียนรู้อีก 1 ปี หากเจ้านายรู้แบบนี้ ก็คงต้องหาคนอื่นมาแทน อย่างน่าเสียดาย

หรือคุณต้องการเล่นกีต้าร์ให้เก่งถึงขั้นมืออาชีพ จะดีกว่าหรือไม่…? ถ้าขยันฝึกจนเก่งภายใน
2-3 ปี แทนที่จะใช้เวลาเกือบตลอดชีวิต
เหมือนที่คนทั่วไปเขาทำกัน

ดร.ไอซ์ รวิสรา ชูฤกษ์ ได้ปริญญาเอกพ่วงปริญญาตรี 2 ใบปริญญาโท 1 ใบในวัย 25 ปี

นายศตพัฒน์ แขกเพ็ง สอบผู้ช่วยผู้พิพากษา
รุ่น 73 ได้อันดับหนึ่งด้วยวัย 25 ปี

พวกเขาเหล่านี้อายุไม่เยอะ
แต่จากการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนรวมทั้งมีความมานะพยายามอย่างเต็มที่ พวกเขาก็สามารถ
ไปสู่ความสำเร็จที่ตั้งใจไว้ ได้อย่างสวยงาม

หวังว่าทุกท่านจะได้ข้อคิดดี ๆ กันเช่นเคยครับ

ขอบคุณครับ
ธน​บรรณ​ สัมมาชีพ​

ขอบคุณ​ภาพ​จาก​เพจ​ Memorias

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *