การแข่งวิ่งมาราธอนที่ออกจากจุดสตาร์ท
เป็นพันคน จะมีตั้งใจวิ่งเพื่อให้ติดอันดับต้น ๆ
แค่หลักร้อย และที่เอาหน้าอกแตะเส้นชัยได้นั้น
กลับเหลือแค่หนึ่งเดียว
คนที่เหลือแม้จะช้าหน่อย แม้นว่าการเดินทาง
จะยาวไกลสักแค่ไหนหากไม่หยุดเดินทาง
ยังไงซะมันก็ต้องถึงจุดหมายอยู่วันยังค่ำ
ความสำเร็จแต่ละอัน มันไม่มีฟลุคเลยครับ
มันมาจากการหมกมุ่น คลุกตัวอยู่กับงานชิ้นเอก
สองมือ สองเท้า และมันสมองแทบไม่ได้พัก
จนเมื่อสำเร็จตามที่หวังแล้วนั่นแหล่ะจึงเบรก
ผมคงไม่ต้องถามนะครับว่าระหว่าง
เหนื่อยกายกับเหนื่อยใจอันไหนมันสาหัสกว่ากัน
เพราะเรารู้กันอยู่แล้วว่าเหนื่อยกายนั้น
นอนวันเดียวก็หาย แต่เหนื่อยใจนี่สิ มันหนักหนาจริง
นักเดินทางหลายคนก็บอกนะครับว่า
ชีวิตมีจุดเปลี่ยนเพราะเริ่มเดินทางไกล
เนื่องจากได้สัมผัสสิ่งใหม่ วัฒนธรรมที่แตกต่าง
สภาพแวดล้อมที่ไม่เคยพบเจอ จนทำให้เรา
เข้าใจโลกมากขึ้น และนำกลับมาใช้กับชีวิต
ตัวเองบ้าง
ความเป็นจริงนั้น เราคงไม่อาจเดินทางได้บ่อย
แต่นั่นมันแค่เปรียบให้ฟังครับว่า ให้ลองก้าวเดิน
ไปพบอะไรใหม่ ๆ เสียบ้าง อาทิ เช่น การอ่านหนังสือ
เล่มใหม่, การหางานอดิเรกใหม่มาทำเพื่อฝึกสมอง
ซีกขวา ซักซ้ายให้ทำงานเข้าขากัน
หรือกระทั่งการเสนอรับงานใหม่ ๆ ที่ใครเขาไม่ทำกัน
ลองเอามาทำบ้าง โดยไม่หวั่นคำบ่นของคนอื่น
มันอาจแป๊กบ้างในช่วงแรกเพราะคนมันไม่เคย
แต่จากทฤษฎี 10,000 ชั่วโมง คือ หากเราอยาก
เก่งทักษะอะไรก็ทำต่อเนื่องกันประมาณ 5 ปี
ก็จะเก่งถึงขั้นมือโปรในด้านนั้นเอง
แต่เอาล่ะ… จะให้รอถึง 5 ปีค่อยเก่งงั้นเหรอ
หลายคนก็บ่นอุบว่าอดทนไม่ไหว ซึ่งคนเราเก่ง
ได้เร็วกว่านั้นจากการทดลองของ Josh Kaufman
ที่บอกว่าแค่ 20 ชั่วโมงเท่านั้น!!!
โดยให้คุณฝึกทักษะนั้นอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา
20 ชั่วโมงหรือ 45 นาทีต่อวัน ติดต่อกันเป็นเวลา
1 เดือนคุณก็จะมีทักษะใหม่ติดตัวทันที
(ถ้าสนใจก็ลองดูเพิ่มจาก TEDs Talk :
Josh Kaufman)
แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ห้ามหยุดเดินไปข้างหน้า
เร็วบ้าง ช้าบ้าง มันจะสมหวังสักวันอย่างแน่นอน
หรือหากอยากจะวิ่งก็ตามอัธยาศัยเลยครับ… ลุย!
ขอบคุณครับ
ธนบรรณ สัมมาชีพ