มันคือจุดตัดสินใจระหว่างปริมาณกับคุณภาพ
ว่าจะเลือกอะไรดี ช่างตัดสินใจลำบากเพราะ
ในชีวิตจริงมันล้อกันมาอย่างเสียไม่ได้
เข้าข่ายรักพี่เสียดายน้อง รักน้องเสียดายพี่ซะงั้น
ยักษ์เล็กพยายามเปิดสาขา
แต่ยักษ์ใหญ่ทยอยปิดสาขาออกข่าวหน้าหนึ่ง
ไม่เว้นแต่ละเดือน
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม
เราต้องพยายามศึกษาข้อมูลให้รอบรู้เข้าไว้
ผมขอยกตัวอย่างที่ใกล้ ๆ ตัวบ้าง
ขอเป็นร้านกาแฟราคามิตรภาพที่เปิดสาขาเป็นว่าเล่น
ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา จนได้ออกข่าว TV ช่องดัง
รีวิวกันกระจายเนื่องจากกระแสขยายสาขาอย่างรวดเร็ว
ถามว่าไอ้ที่จำนวนสาขาที่เยอะ ๆ นั้นพิสูจน์อะไรได้บ้าง
มันจำเป็นจริงหรือ ? เลยฝากข้อคิดดังนี้
ก. กรณีที่ถ้าเจ้าของแฟรนไชส์เปิดเอง เขาจะวิเคราะห์ถึงความคุ้มค่า
อย่างละเอียดถี่ถ้วนสำหรับทุกเม็ดเงินที่ทุ่มลงไป
หากเปิดแล้วมีปัญหา สู้เก็บเงินไว้เป็นกำไรสะสม
นอนตีพุงเล่นดีกว่าเป็นไหน ๆ
ข.กรณีที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์เปิดหรือลงทุนเอง
ผู้ขายแฟรนไชส์อาจจะไม่ได้มาวิเคราะห์อะไรช่วยมากมาย
เพราะมุ่งที่ทำเป้า ทำยอดขายซะมากกว่า
ไอ้เจ้าปัญหามันเลยเริ่มผุด เช่น
– ปล่อยให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์แย่งลูกค้ากันเอง
เนื่องด้วยไม่ได้กำหนดสิทธิ์พื้นที่การขายแต่แรก
– ปล่อยให้ขายตัดราคา ลดแลกแจกแถม
เกทับกันเพื่อดึงลูกค้าเข้าสู่อ้อมอกตัวเอง
หนักเข้าก็ปล่อยเครดิต ทุบหัวเข้าบ้าน
ลูกค้าสนุกเลือกละครับแบบนี้
เอาล่ะ….เพื่อให้เห็นภาพหลาย ๆ มุมลองดู
เคสของพวกยักษ์ใหญ่เมืองนอก เมืองนากันสักนิด
เผื่อสะกิดใจได้อะไรใหม่ ๆ ไปพัฒนาธุรกิจตัวเอง
โดยแหล่งข่าวจาก https://brandinside.asia/
ได้กล่าวถึง 2 แบรนด์ดัง ดังต่อไปนี้
A “Starbucks ปิดสาขา เพื่อทำให้ Performance ดีขึ้น”
Starbucks เตรียมปิดสาขากว่า 150 แห่งในสหรัฐอเมริกาในปี 2019
โดยระบุว่าจะทยอยปิดสาขาในเขตเมืองที่มีประชากรหนาแน่น
เนื่องจากสาขาเหล่านี้มักจะแย่งลูกค้ากันเอง
ทำให้ในท้ายที่สุดแล้วไม่ได้กำไรเพิ่มขึ้น
แถมยังต้องแบกต้นทุนของสาขาในเขตเมืองที่สูงด้วย
B “ทำไม Subway ถึงต้องสั่งปิด 500 สาขาทั่วทวีปอเมริกาเหนือ?”
จำนวนสาขาที่มากกว่าไม่ได้ช่วยอะไร
เพราะแม้ว่า Subway จะมีสาขามากกว่า
แต่ในแง่ประสิทธิภาพของยอดขายสู้ McDonalds ไม่ได้
เมื่อได้เห็นตัวเลขดังกล่าว จะเข้าใจได้แล้วว่า
การที่ซีอีโอของ Subway บอกว่า “จำนวนร้านไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่าง”
นั่นก็หมายถึง สาขาที่มีจำนวนมากกว่า
ไม่ใช่ข้อได้เปรียบในทางธุรกิจแต่อย่างใด
ในบทเรียนเกี่ยวกับ Business model canvas
จะมีหัวข้อ Key Activities ที่แต่ละธุรกิจจะแตกต่างออกไป
และหัวข้อที่ต้องชัดเจนว่าจะขยายสาขา หรือหยุดขยาย
ขึ้นอยู่กับความจำเป็นและสถานการณ์แตกต่างกันออกไป
เมื่อมีจำนวนสาขาเยอะความได้เปรียบเรื่องอำนาจการต่อรอง
Economies of scale มันจะเด่นขึ้นเรื่อย ๆ
แต่ถ้าไม่สามารถควบคุม บริหารจัดการได้
มันก็จะเป็นต้นเหตุของความล้มเหลวในการทำแฟรนไชส์
นั่งคุยนี่ไม่เหนื่อยเท่าไหร่
แต่ครั้นเขียนบทความนี่ถึงกับเหงื่อซึม
เอาเป็นว่าขอจบก่อน….พบกันใหม่บทความต่อไปครับ
-ธนบรรณ สัมมาชีพ-
ขอบคุณครับ
ธนบรรณ สัมมาชีพ
———————–
⭐กดติดดาวเพจ (See first) เพื่อรับคอนเทนต์
บทความ ข่าวสาร แนวคิดดี ๆ ที่จะช่วยให้การทำ
ระบบแฟรนไชส์ของคุณมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง
#สอนทำแฟรนไชส์#ทำรายได้100เท่าใน1ปี
ติดตามและอ่านทุกบทความจากผมที่
http://www.2bfranchisedd.com/
======
พื้นที่โฆษณา
ท่านที่สนใจเรียนการทำแฟรนไชส์
“พื้นฐานแน่น แฟรนไชส์ปัง!!!”
สามารถสมัครเรียนออนไลน์ได้ที่
https://goo.gl/2yWzbc
หรือ inbox มาเลย ผมรออยู่
ขอบคุณครับ