เป้าหมายของผู้ขายแฟรนไชส์(แฟรนไชส์ซอร์)
นั้นค่อนข้างชัดเจนคือต้องการผู้ซื้อแฟรนไชส์
(แฟรนไชส์ซี) งั้นลองฟังทางนี้สักนิดครับ
ผู้ซื้อแฟรนไชส์นั้นจะมีทั้งแบบ
เป็นผู้สนใจทั่วไปที่อยากลงทุน
และแบบเป็นนิติบุคคล ห้างร้าน
ที่อยากขยับระดับจากดีลเล่อร์ธรรมดา
เป็นแฟรนไชส์ซี(ยกระดับ เพื่อต้องการ
สิทธิพิเศษ)
พฤติกรรมของ 2 ประเภทนี้เหมือนกันคือ
มองที่ผลประโยชน์ที่ได้รับว่าคุ้มค่า
กับการลงทุนหรือไม่ ?
โดยที่ผู้ที่จะซื้อแฟรนไชส์ทั้ง 2 ประเภท
จำเป็นต้องมีเงินลงทุน 1 ก้อนที่ใช้ในการเริ่มต้นธุรกิจ เช่น ค่าเช่าพื้นที่,ค่าแฟรนไชส์,ค่าตกแต่งร้าน,ค่าดำเนินการอื่น ๆ อีกจิปาถะและต้องมีเงินทุนสำรองไว้ใช้หมุนเวียนธุรกิจ
ซึ่งกล่าวได้ว่าเราต้องการคนหรือนิติบุคคล
ที่มีความพร้อมด้านเงินทุนในระดับหนึ่ง ไม่ใช่บุคคลทั่วไปที่มีใจรักหรือมีความรู้เพียงอย่างเดียว(ยังคงไม่เพียงพอ)
==========
ลองดูวิธีควานหาแฟรนไชส์ซีแบบที่ใช้กัน
ทั่วไปมาหลายปี ดังนี้
กลุ่มแรก : ผู้สนใจทั่วไป
เราใช้วิธีประชาสัมพันธ์ทางสื่ออินเตอร์เน็ต,
ลงนิตยสารจัดงานเปิดตัวตามอีเวนท์ต่างๆ
ในสถานที่ Landmark โดยจะรวมตัวจัดหรือแยกกันจัด อันนี้ตามสะดวก
กลุ่มที่สอง : เป็นนิติบุคคลหรือองค์กร
ส่วนมากเป็นกลุ่มที่เคยมียอดซื้อ ยอดขายกันบ้างแล้วอาจจะเคยร่วมงาน รู้จักนิสัยใจคอกันดี
หรือเป็นกลุ่มเป้าหมายหน้าใหม่ ก็ลองเสนอโครงการแฟรนไชส์ซีประจำพื้นที่ดูได้เลย
==========
ลองหยิบสมุด ปากกาขึ้นมาแล้วร่างรายละเอียด
1. ถ้าคุณต้องการผู้ซื้อแฟรนไชส์ก๋วยเตี๋ยวรถเข็นคุณจะไปติดต่อกับใครระหว่างร้านรถเข็นอยู่แล้วแต่ไม่มีแบรนด์ หรือ ก๋วยเตี๋ยวติดแอร์บนห้างสรรพสินค้า
2. ถ้าคุณต้องการผู้ซื้อแฟรนไชส์ร้านกาแฟติดแอร์คุณจะไปติดต่อใครระหว่างร้านที่อยู่ตึก มีโต๊ะเก้าอี้พร้อม WIFI กับร้านที่เป็นรถเข็นหรือ Food truck
3. ถ้าคุณต้องการผู้ซื้อแฟรนไชส์ร้านขายอุปกรณ์ต่อพ่วงและเบ็ดเตล็ดเกี่ยวกับ smart Phone คุณจะไปติดต่อใครระหว่างร้านตู้ตาม Modern Trade กับร้านใหญ่ ๆ เปิดแบบ Stand Alone ชานเมือง
==========
เมื่อจัด Customer Segment ได้ชัดเจน
ก็โฟกัสกระบวนการทำงานได้ง่าย ตรงกลุ่มขึ้น
หากมัวแต่วางแผนกระจายทุก segment
อยากขายแฟรนไชส์ให้ได้ทุกกลุ่ม คงต้องเสียเวลาและเงินทุนจำนวนมาก อาจได้ไม่คุ้มเสีย
ฝากข้อคิดไว้สำหรับยุคเงินทองหายาก
แถมไวรัสแพร่กระจายด้วยครับ
ขอบคุณครับ
ธนบรรณ สัมมาชีพ
======
พื้นที่โฆษณา… คอร์สออนไลน์
“พื้นฐานแน่น แฟรนไชส์ปัง”