การจัดระเบียบการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ จะนำมาซึ่งความยุติธรรมต่อแฟรนไชส์ซี ทุกครั้งที่มีปัญหาความไม่ซื่อสัตย์ ไม่โปร่งใส สัญญาที่ได้ประโยชน์ฝ่ายเดียว ส่งผลให้ผู้ที่รับกรรมไม่สามารถไปร้องเรียนกับหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง
การมีกฎหมายเกี่ยวกับแฟรนไชส์โดยเฉพาะจึงช่วยสร้างให้
แฟรนไชส์ซอร์เดิมที่ดีอยู่แล้วดูน่าเชื่อถือ
แฟรนไชส์ซอร์ที่กำลังจะเข้ามาใหม่เตรียมตัวได้ถูก
แฟรนไชส์ซอร์ที่นอกลู่ นอกทางโดนคัดกรอง
แฟรนไชส์ซีหรือนักลงทุนรู้สึกมั่นใจ กล้าตัดสินใจมากขึ้น
เมื่อต้นปี 2560 ที่ผ่านมา จากหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันอังคารที่ 3 มกราคม 2560 ได้ขึ้นหัวข่าว “เบรกกฎหมายแฟรนไชส์” และได้รายงานข่าวว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) ส่งกลับร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ ฉบับ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) หลังคณะกรรมการกฤษฎีกาให้ความเห็นซ้ำซ้อนกับกฎหมายอื่น เกรงเป็นอุปสรรคต่อความสามารถในการแข่งขัน
ในเมื่อยังไม่มีกฎหมายโดยตรง เราจึงควรเรียนรู้ข้อกฎหมายที่สัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันซึ่งก็มีหลายข้อ ทั้งนี้เพื่อป้องกันความผิดพลาดทั้งหลายทั้งปวง ซึ่งจะบอกว่าเราไม่รู้ก็คงไม่ได้
เพื่อความสะดวกในการเข้าถึงกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ สามารถอ่านเนื้อหากฏหมายและพระราชบัญญัติผ่าน Smart phone ได้เพียงดาวน์โหลด Application ที่เป็นตัวอ่าน QR Code ส่องไปที่สัญลักษณ์นั้น ๆ สักพักก็จะพาเราเข้าสู่ Link เนื้อหาทันที
———————————–
1.ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
———————————–
– ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจและการค้าที่รู้ไว้จะได้ไม่เสียเปรียบเพราะการทำธุรกิจหนีไม่พ้นการทำนิติกรรมและสัญญาอย่างแน่นอน
https://goo.gl/RTrEoc (Link ไปสู่เนื้อหาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่เว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา)
———————————–
2.พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540
———————————–
สัญญาทั้งหลายแหล่ส่วนมากจะออกมาจากทางฝั่งแฟรนไชส์ซอร์
เพื่อผลประโยชน์หรือป้องกันสารพัดอย่าง โดยสาระสำคัญในสัญญามักจะเอียงมาทางแฟรนไชส์ซอร์ซะมากกว่า
ปกติแล้วรัฐจะไม่แทรกแซงแม้ว่าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้เอาเปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง เว้นแต่สัญญานั้นได้ขัดต่อศีลธรรมอันดีงาม
ผู้มีอำนาจต่องรองทางเศรษฐกิจได้เอาเปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง
ซึ่งมีอำนาจต่องรองทางเศรษฐกิจด้อยกว่าจนไม่เป็นธรรมและไม่สงบสุขในสังคม ข้อสัญญาดังกล่าวก็จะเข้าช่ายสัญญาที่ไม่เป็นธรรมทันที
– พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540
https://goo.gl/tFBWX7 (Link ไปสู่เว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา)
———————————–
3.กฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาไทย
———————————–
แฟรนไชส์ซอร์อย่าลืมจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้เรียบร้อย
เพราะเครื่องหมายการค้า(Trade mark),เครื่องหมายบริการ(Service mark)รวมถึงสิทธิบัตร(Patent) เป็นสิทธิ์ของแฟรนไชส์ซอร์ที่จะให้ทางแฟรนไชส์ซีสามารถใช้ก็ได้หรือไม่ให้ใช้ก็ได้โดยระบุรายละเอียดในสัญญาให้ชัดเจน
สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญานั้นทางแฟรนไชส์ซีอาจไม่จำต้องจ่ายค่าตอบแทนก็ได้ขึ้นอยู่กับการตกลงกันของคู่สัญญาเอง
– พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2543 และแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2559
https://goo.gl/dkQJ7P (Link ไปสู่เว็บไซต์ของกรมทรัพย์สินทางทางปัญญา)
– พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542
https://goo.gl/Hgao7X (Link ไปสู่เว็บไซต์ของกรมทรัพย์สินทางทางปัญญา)
– พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
https://goo.gl/ngjuFH (Link ไปสู่เว็บไซต์ของกรมทรัพย์สินทางทางปัญญา)
– กฎหมายที่เกี่ยวกับการป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
https://goo.gl/SHLAqN
———————————–
4.พระราชบัญญัติความลับทางการค้า พ.ศ. 2545
———————————–
สูตรอาหาร เครื่องดื่ม,คู่มืองานบริการ,คู่มือปฏิบัติงานสาขา,
ข้อมูลที่มีประโยชน์เชิงพาณิชย์ต่างๆ เช่น ฐานข้อมูลลูกค้า
,สถิติตัวเลขยอดขาย,งบการเงินภายใน ความลับเหล่านี้ต้องได้รับการคุ้มครอง โดยแฟรนไชส์ซีต้องไม่นำไปเผยแพร่ให้กับคู่แข่ง หรือนำไปใช้ในเชิงแข่งขันและทำให้เกิดความเสียหาย
– พระราชบัญญัติความลับทางการค้า พ.ศ. 2545
https://goo.gl/Vw4w2r (Link ไปสู่เว็บไซต์ของกรมทรัพย์สินทางทางปัญญา)
———————————–
5.พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2556
———————————–
ผู้บริโภคนั้นได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค ทุก ๆ แฟรนไชส์จึงพึงระวังการโฆษณาเกินจริง หลอกลวงหรือมีเหตุอันควรให้สงสัยว่าสินค้าที่ขายออกไปนั้นอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายหรือจิตใจแก่ผู้บริโภค
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2556
https://goo.gl/UfKkBv (Link ไปสู่เว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค)
———————————–
6.พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560
———————————–
ผู้ประกอบธุรกิจหนึ่งรายหรือหลายรายในตลาดการแข่งขันใด ๆ ก็ตามที่มียอดขายและส่วนแบ่งตลาดเกินกว่าที่คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้ากำหนดจะถูกตรวจสอบ ควบคุมอีกที
เป็นอีกหนึ่งพระราชบัญญัติที่แฟรนไชส์ซอร์ควรรับทราบและไม่อาจมองข้ามได้
– พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560
https://goo.gl/iCvQjN (Link ไปสู่เว็บไซต์ของราชกิจจานุเบกษา)
การเตรียมตัวต้อนรับกฎหมายแฟรนไชส์ไทยตั้งแต่เนิ่น ๆ นั้นเหมาะสมที่สุด เพราะนอกจากเราจะเข้มแข็งพร้อมแข่งขันกับคู่แข่งภายนอกในอุตสาหกรรมเดียวกันแล้ว เรายังได้ความเข้มแข็งจากภายในเป็นภูมิต้านทานทุกวิกฤติเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
ในโพสต่อ ๆ ไปจะพาให้ทุกท่านเริ่มต้นอย่างเป็นขั้น เป็นตอนครับ
จากใจเพจ #ระบบแฟรนไชส์#ง่ายนิดเดียว
======
สนใจเรียนคอร์สออนไลน์
“พื้นฐานแน่น แฟรนไชส์ปัง”
เหมาะสำหรับท่านที่อยากเพิ่มสาขา
ด้วยระบบแฟรนไชส์
คลิกที่
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=2811749469050069&id=2158094987748857
======
ทุกท่านสามารถติดตาม…
www.2bfranchisedd.com
“นำเสนอปรัชญาชีวิต สร้างแรงผลักดัน
แรงบันดาลใจในการทำงานให้กับคนทำงาน
พร้อมให้คำแนะนำสำหรับผู้ประกอบการ
ที่สนใจขยายสาขาด้วยระบบแฟรนไชส์
อย่างจริงจัง”
ขอบคุณครับ
ธนบรรณ สัมมาชีพ