สัญญาแฟรนไชส์จะเกิดขึ้นหลังจากที่แฟรนไชส์ซอร์ได้วางระบบต่าง ๆ ไว้เป็นที่เรียบร้อย เช่น คู่มือการทำงาน,ระบบการเงิน การบัญชี ระบบควบคุมคุณภาพและอื่น ๆ ที่ทำให้ระบบแฟรนไชส์เดินหน้า
สามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เมื่อได้ทำระบบเสร็จสิ้นจึงเริ่มปรึกษานักกฎหมายหรือทนายความมาลงเนื้อหาเพิ่ม เพราะนักกฎหมายจะไม่รู้รายละเอียดดีเท่าเจ้าของธุรกิจหรือแฟรนไชส์ซอร์
เมื่อทางแฟรนไชส์ซอร์เสนอความต้องการออกไป นักกฎหมายจะช่วยคัดกรองว่า ความต้องการเหล่านั้นบังคับใช้ได้หรือไม่
ส่วนหลัก ๆ แล้วจะมีเนื้อหา รายละเอียดอะไรบ้างในสัญญา
ลองมาดูตัวอย่างเป็นข้อ ๆ ดังนี้
1. คำนิยาม
ธุรกิจแฟรนไชส์ความสวยความงามก็จะมีคำศัพท์เฉพาะ
ธุรกิจแฟรนไชส์อาหารก็จะมีคำศัพท์เฉพาะอีกอย่าง
ธุรกิจแฟรนไชส์น้ำดื่มก็จะมีศัพท์เทคนิคซึ่งเข้าใจเฉพาะกลุ่ม
จะเห็นว่าต่างธุรกิจก็ย่อมมีศัพท์เฉพาะต่างสาขาออกไป
แม้กระทั่งคำ ๆ เดียวกันยังอาจเข้าใจคลาดเคลื่อนได้
จึงต้องเขียนความหมายของคำศัพท์ให้อ่านเข้าใจง่ายและรู้จักกันในวงกว้างขวาง
2. เครื่องหมายการค้าและข้อกำหนดในการใช้งาน
แจ้งให้ชัดว่า ได้ให้สิทธิ์ในการใช้เครื่องหมายการค้าใดบ้าง
หรือถ้ามีทรัพย์สินทางปัญญาก็ระบุลงไปด้วย เพื่อให้เข้าใจตรงกันตั้งแต่เริ่มร่วมงาน รวมถึงการทำข้อกำหนดในการใช้งานจะช่วยให้บุคคลที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามหรือดำเนินการได้อย่างถูกต้อง
3. การให้สิทธิ์แฟรนไชส์ ระยะเวลาของสัญญา ค่าธรรมเนียมและการโอนสิทธิ์
เช่น – รูปแบบร้านเป็นประเภทใด(ตามรูปแบบการลงทุน)
– ทำเลที่ตั้งของร้านเป็นบนห้าง ,บนดิน,ในเมืองหรือต่างอำเภอ
– ขอบเขตการใช้ประโยชน์จากเครื่องหมายการค้าและทรัพย์สินทางปัญญา ต้องระบุว่าแฟรนไชส์ซีสามารถใช้เครื่องหมายการค้าได้แค่ไหน และอย่างไรบ้าง ทั้งขณะที่เป็นแฟรนไชส์ซีอยู่จนกระทั่งเลิกทำแล้ว
– ระยะเวลาของสัญญา ระบุให้ชัดว่ากี่ปี หรือระยะเวลาเท่าใด
– ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ จัดเก็บกี่บาท จัดเก็บจากอะไร ต้องจ่ายวิธีไหนและจ่ายเมื่อไหร่
– การโอนสิทธิ์ ในกรณีคนซื้อแฟรนไชส์เลิกทำแล้วส่งต่อให้ผู้อื่นสามารถทำได้หรือไม่ ด้วยเงื่อนไขใดบ้าง
ยิ่งชัดเจนมากเท่าไหร่ ปัญหาที่ตามมายิ่งน้อยลงแน่นอน
4. หน้าที่ของแฟรนไชส์ซอร์
อธิบายหน้าที่หลักของแฟรนไชส์ซอร์ ที่จะนำพาให้แฟรนไชส์ซีประสบความสำเร็จและประกอบกิจการได้ตามสัญญา
5. หน้าที่ของแฟรนไชส์ซี
อธิบายหน้าที่ของแฟรนไชส์ซี ที่จะต้องปฏิบัติงานให้ถูกต้องตามในสัญญา
6. มาตรฐานและเงื่อนไขทางเทคนิค
สิ่งที่ทำให้แฟรนไชส์แข็งแรงคือมาตรฐาน ดังนั้นอะไรก็ตามที่ระบุในคู่มือปฏิบัติงานจะทำให้มาตรฐานไม่ผิดเพี้ยน เช่น การให้บริการ
การผลิตสินค้า การเงิน การบัญชี ฯ
ดังนั้นในสัญญาต้องระบุว่าทางแฟรนไชส์ซีต้องโดนตรวจสอบระบบเป็นระยะเพื่อประเมินผลการดำเนินงานและรักษามาตรฐาน
พรุ่งนี้มาต่อกันนะครับ
จากใจเพจ #ระบบแฟรนไชส์#ง่ายนิดเดียว
======
สนใจเรียนคอร์สออนไลน์
“พื้นฐานแน่น แฟรนไชส์ปัง”
เหมาะสำหรับท่านที่อยากเพิ่มสาขา
ด้วยระบบแฟรนไชส์
คลิกที่
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=2811749469050069&id=2158094987748857
======
ทุกท่านสามารถติดตาม…
www.2bfranchisedd.com
“นำเสนอปรัชญาชีวิต สร้างแรงผลักดัน
แรงบันดาลใจในการทำงานให้กับคนทำงาน
พร้อมให้คำแนะนำสำหรับผู้ประกอบการ
ที่สนใจขยายสาขาด้วยระบบแฟรนไชส์
อย่างจริงจัง”
ขอบคุณครับ
ธนบรรณ สัมมาชีพ