ลองอ่านกันเพลิน ๆ สักรอบนะครับ
1. เงินฝืด ชักหลังไม่ถึงหน้า
พูดถึงเรื่องเงินแล้วน่าปวดหัว
ครั้นพอจะไม่พูดถึง เมื่อประสบปัญหากลับยิ่งปวดหัวมากกว่าเดิมทวีคูณ
ผู้ประกอบการที่หวังจะปั้นแฟรนไชส์เข้าสู่ตลาดจำเป็นต้องมีเงินก้อนหนึ่ง
เพื่อใช้ในการหมุนเวียน หรือลงทุนซื้อสินทรัพย์เพื่อใช้ในการขยายกิจการ
ซึ่งอาจจะมาจากสถาบันการเงินหรือเงินนอกระบบที่ระดมจากหุ้นส่วน
สิ่งที่ต้องทำด่วนคือ แยกเงินกระเป๋าซ้าย กระเป๋าขวาออกจากกัน
ค่าใช้จ่ายส่วนตัวและของธุรกิจต้องไม่พัวพันกันอีรุงตุงนังเป็นอันขาด
ตัวของเจ้าของกิจการไส้แห้ง แต่ไม่จำเป็นที่กิจการจะไส้แห้งตาม
เพราะตัวเจ้าของเองอาจจะติดใช้จ่ายฟุ่มเฟือย จนดึงเงินกิจการ
ออกไปใช้สอยอยู่เนือง ๆ จนกิจการต้องขาดเงินหมุนเวียนก็เป็นได้
การจัดการเรื่องบัญชีการเงิน จึงช่วยปิดรูข้อนี้ได้อย่างดี
แต่ทั้งนี้ต้องได้รับความร่วมมือจากเจ้าของกิจการ
ว่าที่แฟรนไชส์ซอร์ในอนาคตควรเข้มงวดเรื่องนี้นะครับ
2. อ่อนเรื่องบัญชี ภาษีและกฎหมาย
เรื่องของงานที่ทำอยู่กับสิ่งที่เล่าเรียนมาไม่ใช่สาขาวิชาเดียวกัน
เป็นเรื่องปกติในโลกปัจจุบันนี้ และแน่นอนผู้ประกอบการที่จะ
ปั้นธุรกิจไปเป็นระบบแฟรนไชส์ส่วนใหญ่แล้วก็ไม่ค่อยได้เรียน
สาขาบัญชีมาแต่อย่างใด
หลายคนก็เรียนรู้จากการลงคอร์สสัมมนา หรือศึกษาจากอินเตอร์เน็ต
แต่ก็อีกจำนวนไม่น้อยที่ลุยแบบไม่มีพื้นฐานเลย
ปัญหานี้ควรต้องจบทันที เพราะเมื่อจะทำระบบแฟรนไชส์
เราต้องวางรากฐานไว้ให้กับอีกเป็นร้อย ๆ สาขาในอนาคต
ซึ่งจะปิดหู ปิดตาทำไม่ได้อีกต่อไป
หนึ่งในทางเลือกที่ดีคือหาสำนักงานบัญชีที่เข้าใจการทำงาน
มาช่วยดูเรื่องระบบเอกสาร การไหลเวียนของเงินและดูภาพรวม
ของภาษีด้วยอีกทาง
ส่วนตัวกฏหมายแฟรนไชส์ของประเทศไทยนั้นต้องรออีกระยะ
เราควรศึกษากฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไว้เพราะเกี่ยวข้องกัน
โดยตรง เพียงเท่านี้ก็ดูดีขึ้นเยอะครับ
3.บุคลากรไม่มีคุณภาพ
ปัญหาระดับสากลเกี่ยวกับองค์กร คงหลีกไม่พ้นเรื่องคน
และเนื่องจากการทำระบบแฟรนไชส์ต้องอาศัยคนค่อนข้างเยอะ
หากไม่วางแผนพัฒนาบุคลากรให้ดี ระวังมันสมองจะรั่วไหล
ซ้ำร้ายไม่มีใครอยากเข้ามาทำงานด้วย ยิ่งระทมหนัก
หลัก ๆ แล้วปัญหามันจะประมาณนี้
1. องค์กรไม่มีวิสัยทัศน์ร่วมกัน ผู้นำขาดภาวะผู้นำ
ดังนั้นควรแก้ไขพร้อมทั้งร่วมสร้างวัฒนธรรมที่ดีในการอยู่ร่วมกันขึ้นมา
2. พนักงานขาดการอบรม ฝึกทักษะใหม่ ๆ ที่จำเป็นต่อการแข่งขัน
บางทีก็ทำงานหน้าเดียว ไม่สามารถสลับตำแหน่งกันได้เมื่อยามฉุกเฉิน
การฝึกให้พนักงานแบบ Multi Skill จึงโดนหลาย ๆ แฟรนไชส์นำมา
ประยุกต์ใช้เพื่อลดความสูญเสียเมื่อมีพนักงานคนใด คนหนึ่งหยุด
3. พนักงานขาดแรงจูงใจ
อันนี้ต้องไปรื้อดูฐานเงินเดือน ว่าในอุตสาหกรรมเดียวกัน
ค่าตอบแทนของเราสูสีหรือไม่ หรือมีเงินพร้อมปัจจัยจูงใจอันใดอีก
ที่จะสามารถสร้างขวัญและกำลังใจให้พนักงานได้อย่างสมน้ำ สมเนื้อ
แต่ต้องอย่าลืมว่า ให้อยู่บนพื้นฐานความเหมาะสม คืออยู่ได้ทั้งองค์กร
และพนักงาน วันนี้ให้คิดระบบค่าตอบแทนไว้เนิ่น ๆ เพราะเมื่อใดก็ตาม
ที่เราเริ่มขายแฟรนไชส์ คำถามต่าง ๆ จะพรั่งพรูมาจากแฟรนไชส์ซีแน่นอน
เรื่องคนเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก ๆ ไว้โอกาสหน้า
จึงจะยกเป็นวาระใหญ่ ลงลึกกันอีกที
4. ไม่มี Connection
มันก็เหมือนถามว่าเจ้าของกิจการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีหรือไม่
เพราะปัจจัยตัวนี้จะทำให้เครือข่ายแฟรนไชส์ของเราแข็งแกร่งมาก
เพราะนำมาซึ่งความไว้เนื้อเชื่อใจของแฟรนไชส์ซีหรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
Connection นั้นสร้างได้ ต้องอาศัยเวลาและความตั้งใจจริง
การออกงานสังคม การเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าหน่วยงาน
ของรัฐหรือเอกชนล้วนเป็นตัวเชื่อมที่ทรงประสิทธิภาพทั้งนั้น
เริ่มได้เลย หัดทำความรู้จัก พูดคุยกับคนแปลกหน้าวันละนิด ละหน่อย
ถ้าเป็นองค์กรก็หาทีมที่เป็นหัวเจาะให้ได้ ไม่มีใครเก่งไปซะทุกเรื่อง
แต่ทุกคนต้องพร้อมพัฒนาตัวเองเพื่อเป็นฟันเฟืองชิ้นสำคัญ
ในระบบแฟรนไชส์
5. No Brand,No Name , No money
ไม่มีแบรนด์ แบรนด์ไม่ดัง แบบนี้จะไปขายแฟรนไชส์คงยากถึงยากที่สุด
ในยุคที่สินค้าคุณภาพใกล้เคียงกัน ราคาไม่ห่างกัน บริการเท่าเทียมกัน
ผู้บริโภคจะวิ่งเข้าหาแบรนด์ที่อยู่ในใจทันที
เอาล่ะ ถึงแม้จะเพิ่งเริ่มทำแบรนด์อยู่ในขั้นยังไม่ดังมาก
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ ชื่อเสียง ผลงานที่ประสบความสำเร็จ
อะไรก็ตามที่ส่งผลแง่บวกต่อความรู้สึกลูกค้า ถือเป็นทุนเดิมที่ได้เปรียบคู่แข่ง
และอันดับต่อมา ที่สำคัญก็คือแบรนด์ของเจ้าของผู้ก่อตั้งแฟรนไชส์
(Personal Branding)
ลองให้เจ้าของแฟรนไชส์มีข่าวเสื่อมเสียสักข่าวดูสิครับ
ส่งผลต่อความรู้สึกของผู้บริโภคทันที
และในขณะเดียวกันแบรนด์ที่แข็งแกร่งทั้งแบรนด์ขององค์กรหรือเจ้าของเอง
ก็จะทำให้มูลค่าสูงขึ้น ๆ พอจะขายแฟรนไชส์ก็ไม่ยากเกินเอื้อม
6. สุด ๆ แล้วแต่ก็ยังขาดทุน
ปัญหาข้อนี้ควรได้รับการป้องกันตั้งแต่เริ่มแรกแล้ว
ในขั้นตอนการวางแผนธุรกิจ ซึ่งต้องระบุที่มาของเงิน
การประมาณการกำไร ขาดทุนที่แน่นอนจะทำให้เบาใจลงได้เยอะ
แต่ทุกอย่างย่อมเกิดขึ้นได้ เนื่องจากปัจจัยภายนอกที่ยากจะควบคุม
ตามหลัก SPELT Model ว่าด้วยปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อธุรกิจ
โดยมีความเกี่ยวข้องกับสังคม,วัฒนธรรม,ระบบเศรษฐกิจ,ข้อกฎหมาย,
การเมืองและเทคโนโลยี
ส่วนปัจจัยภายในที่มาจากความอ่อนประสบการณ์ของผู้บริหาร
อันนี้ต้องรีบแก้โดยหาที่ปรึกษา หรือจะศึกษาเองก็แล้วแต่
ให้รีบขยับ เพราะหากไม่มีกำไรแล้ว อนาคตการขายแฟรนไชส์คงหืดจับครับ
จากใจเพจ #ระบบแฟรนไชส์#ง่ายนิดเดียว
======
สนใจเรียนคอร์สออนไลน์
“พื้นฐานแน่น แฟรนไชส์ปัง”
เหมาะสำหรับท่านที่อยากเพิ่มสาขา
ด้วยระบบแฟรนไชส์
คลิกที่
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=2811749469050069&id=2158094987748857
======
ทุกท่านสามารถติดตาม…
www.2bfranchisedd.com
“นำเสนอปรัชญาชีวิต สร้างแรงผลักดัน
แรงบันดาลใจในการทำงานให้กับคนทำงาน
พร้อมให้คำแนะนำสำหรับผู้ประกอบการ
ที่สนใจขยายสาขาด้วยระบบแฟรนไชส์
อย่างจริงจัง”
ขอบคุณครับ
ธนบรรณ สัมมาชีพ