งานเข้า…อยู่ดี ๆ แฟรนไชส์ซีเกลียดฉัน

งานเข้าล่ะซิ…! อยู่ดี ๆ แฟรนไชส์ซีเกลียดฉัน

ขายแฟรนไชส์มาตั้งหลายปีแทนที่จะเป็นที่รัก
แต่ดันมีแต่คนเกลียดซะงั้น เฮ้ย….ยอมได้ไง
คุณกำลังมีนิสัยแบบนี้หรือเปล่า​ ?
คุณไม่น่ารักรึเปล่า​ ?
รีบแก้สถานการณ์ด่วน ๆ

ผมขอแชร์ประสบการณ์การบริหารงาน
ระหว่างแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี
ดังนี้ครับ

1. #คุณเอาแต่ได้
ค่าแบรนด์รายเดือนหรือค่าธรรมเนียมแรกเข้า
ที่กำหนดเก็บนั้นมากเกินไปหรือไม่ ?

เงินที่ได้จากการเรียกเก็บเอาไปใช้ทำอะไรบ้าง ?
ได้นำไปพัฒนาแบรนด์ให้เป็นที่รู้ในวงกว้างหรือยัง ?

2. #คุณไม่ชัดเจน
ธุรกิจที่ทำอยู่ คุณเคยให้ความรู้กับแฟรนไชส์ซีหรือไม่ว่า
ตนเองอยู่อันดับที่เท่าไหร่ในธุรกิจเดียวกัน
ต้องแข่งขันกับใครบ้างในธุรกิจเดียวกัน ?
แนวโน้มตลาดในปีนี้และปีหน้าเป็นอย่างไร ?

ให้แฟรนไชส์ซีรู้ว่าเราไม่ได้แค่ตั้งใจขายของ
ให้เขาเท่านั้น แต่เราหวังพาพวกเขาครอบครองเบอร์หนึ่ง
ของตลาด เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับแฟรนไชส์ซี

3. #คุณไม่ซื่อสัตย์
ลองดูพฤติกรรมเหล่านี้
– สินค้าบางรุ่นใกล้หมดอายุ แต่คุณยังคงผลักดัน
ให้ไปอยู่ในสต๊อกของแฟรนไชส์ซี
– สินค้าชำรุด มีตำหนิแต่คุณทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น
ยังคงจัดส่งออกไปสต๊อกของแฟรนไชส์ซีตามปกติ
– ลูกค้าโอนเงินเกิน คุณเก็บไว้ใช้เอง
โดยไม่ตั้งเป็นเจ้าหนี้เงินโอนไว้ เพื่อทำเรื่องคืนให้กับ
แฟรนไชส์ซีในรอบสั่งซื้อสินค้าคราวต่อไป
ยังมีอีกหลายกรณี ซึ่งแก้ไขได้ด้วยใส่ความจริงใจ
ลงไปในการทำธุรกิจร่วมกัน

4. #คุณไม่สม่ำเสมอ
– ถ้าคุณมีแผนออกเยี่ยมแฟรนไชส์ซีเป็นประจำอยู่แล้ว
อาจจะปีละ 1-2 ครั้ง แล้วปรากฏว่าคุณไม่ไปเลย
หรือไปแบบขาด ๆ หาย ๆ แบบนี้คือไม่สม่ำเสมอ
และยิ่งไปไม่ครบอาจเกิดการน้อยใจของแฟรนไชส์
เพิ่มขึ้นมาอีกข้อก็เป็นได้
– ถ้าคุณเคยโทรถามสารทุกข์สุกดิบแฟรนไชส์ซี
ทุกเดือน แล้วก็เริ่มหายไปแบบนี้ก็ไม่สม่ำเสมอ

กิจกรรมใดๆก็ตามที่ขาดความสม่ำเสมอ
มักจะขับเคลื่อนไปข้างหน้าด้วยความยากลำบาก

แถมยังต้องเสียเวลามารื้อฟื้นหาตะเข็บรอยต่อทุกครั้ง
เมื่อต้องการเริ่มใหม่

5. #คุณไม่สามารถบริหารความขัดแย้ง
การสร้างแฟรนไชส์ซีไว้เยอะๆ นั้น
ย่อมก่อให้เกิดปัญหาตามมาเพราะสภาพทำเล
ภูมิศาสตร์ วัฒนธรรมแตกต่างกัน

ไหนจะเรื่องนิสัยใจคอแต่ละบุคคล

หากคุณไม่ทำการลิสต์หัวข้อปัญหาที่คาดว่า
จะเกิดขึ้นในอนาคตไว้ล่วงหน้าและระดมสมอง
แก้ปัญหากันไว้ก่อนแล้ว

เมื่อถึงเวลาปัญหาเกิดขึ้นจริง อาจจะช๊อตทั้งระบบ
ก่อให้เกิดความไม่พอใจในช่วงสั้น จนถึงบานปลาย
ไประยะยาวด้วยทันทีหากไม่ได้รับการแก้ไข

6. #คุณไม่มีวิสัยทัศน์
วางแผน 1 ปี 3 ปี 5 ปี ไว้อย่างไรบ้าง ?
อาจใช้ 5 Forces model ช่วยได้แก่
– การเข้ามาของคู่แข่งรายใหม่
– การต่อรองของลูกค้า
– สินค้าทดแทนของเดิมที่เราขายอยู่
– ช่องทางการจัดจำหน่าย
– การแข่งขันภายในธุรกิจเดียวกัน

ถ้าแต่ละไตรมาศ หรือรายปีเราไม่เคยอัพเดท
ทิศทางตลาดให้กับแฟรนไชส์ซีเลย

ก็เหมือนปิดหู ปิดตาพวกเขา
และอาจเสียโอกาสในการเติบโตหลายๆ อย่าง

เห็นอาการแล้วเสียวแทนเลยนะครับ

จากใจเพจ #ระบบแฟรนไชส์ #ง่ายนิดเดียว

======

สนใจเรียนคอร์สออนไลน์
“พื้นฐานแน่น แฟรนไชส์ปัง”
เหมาะสำหรับท่านที่อยากเพิ่มสาขา
ด้วยระบบแฟรนไชส์
คลิกที่
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=2811749469050069&id=2158094987748857

======

ทุกท่านสามารถติดตาม…
www.2bfranchisedd.com
“นำเสนอปรัชญาชีวิต สร้างแรงผลักดัน
แรงบันดาลใจในการทำงานให้กับคนทำงาน
พร้อมให้คำแนะนำสำหรับผู้ประกอบการ
ที่สนใจขยายสาขาด้วยระบบแฟรนไชส์
อย่างจริงจัง”

ขอบคุณครับ

ธนบรรณ สัมมาชีพ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *