ข้อคิดดี ๆ จากคมสันต์ ลี


นาทีนี้คงไม่มีใครไม่รู้จักเขา
ด้วยวัย 28 ปี แต่เป็นเจ้าของ Flash Express
มูลค่าบริษัท 31,200 ล้านบาท
ข้อคิดดี ๆ เหล่านี้ นำไปใช้ได้จริง
ทั้งมุมบริหารชีวิตและธุรกิจครับ

1. คนมักมองแค่ผลลัพธ์
แต่ไม่เห็นระหว่างทางที่ผ่านมา
“กำแพงหรือบ้านไม่ได้สร้างเสร็จในวันเดียว”

2. อะไรก็ตามที่เราพูดแล้วเราเชื่อนั่นคือความฝัน
แต่อะไรก็ตามที่เราพูดแล้วเราไม่เชื่อนั่นคือการ “วาดเค้ก” (วาดเค้กเป็นสำนวนภาษาจีน เป็นการวาดภาพลวงให้คนเชื่อโดยไร้ซึ่งแนวทางปฏิบัติจริง)

การทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ
จึงต้องทำให้พนักงานเกิดความเชื่อ
และประกอบด้วย …
“โอกาสที่ดี ทีมงานที่ใช่ ผู้นำที่ถูกต้อง”

3. ค้นหาจุดที่ผู้ให้บริการอื่นยังทำได้ไม่ดี
ส่วนที่คนอื่นเขาทำได้ดีอยู่แล้ว เราไม่ควรทำ
เพราะเราต้องใช้กำลังสองเท่า

เมื่อเราโฟกัสไปที่คนอื่นยังทำได้ไม่ดี
เราก็จะได้ใช้กำลังเพียงเล็กน้อย
และที่สำคัญคือ เราต้องทำให้มันกว้างขึ้น

เช่น พบว่าคู่แข่งให้บริการวันจันทร์ – ศุกร์
เราก็ให้บริการ 365 วันเลย

4. เมื่อปัจจุบันโลกแห่ง information มันเชื่อมถึงกัน
การมีหน้าร้านอาจไม่ใช่ข้อได้เปรียบอีกต่อไป
หากแต่เป็นการที่เราต้องเข้าหาลูกค้า
(Door to door service.)

5. จุดแข็งของคู่แข่งคือมีหลายสาขา
แต่ในโลก E-Commerce แล้ว
นั่นกลายเป็นจุดอ่อนของเขาในทันที
เพราะ มันกลายเป็นต้นทุนหรือภาระ
(กรณีที่ลูกค้าไม่เดินทางไปใช้บริการ
ที่หน้าร้านสาขาอีกต่อไป เพราะไม่จำเป็น)

6. จุดแข็งของเขาอีกอย่างคือ ภาษาจีน
เพราะสมัยเรียนมีเพื่อนเป็นคนจีนเยอะ
และคุณแม่เป็นครูสอนภาษาจีน

7. เริ่มทำธุรกิจไฟแนนซ์ เริ่มจากกับร้านค้า
และร้านอาหารแถวหน้ามหาวิทยาลัย
ร่วม 100 ร้าน โดยเป็นคนไปซื้อวัตถุดิบให้
ตั้งแต่เช้ามืด แต่ไปเก็บเงินตอนเย็น
ซึ่งเป็นช่วงที่ลูกค้าได้ขายของและมีเงินแล้ว

8. เมื่อครั้งยังเรียนมหาวิทยาลัยอยู่ ก็สะสม connection​ กับรุ่นพี่ที่จบไปก่อนแล้ว และมีหลายสาขาอาชีพ

9. เขาได้มีโอกาสไปบริหารธุรกิจเหมืองทราย
ที่มีเจ้าของเป็นคนจีน แต่ลูกน้องเป็นคนไทย
เขาช่วยพลิกวิกฤตขาดทุนปีละ 10 ล้าน
เป็นกำไรปีละ 10 ล้านบาท ซึ่งปัญหาใหญ่ที่นำมา
ซึ่งการขาดทุนคือ คอรัปชั่น
รองลงมาก็เรื่องเครื่องจักร และการลงทุน

10. เขาเปิด Flash Express โดยใช้เงินส่วนตัว
ที่เก็บมาจากการทำ Freight Forwarder
เรียกได้ว่าลงทุนหมดหน้าตัก ขายบ้าน ขายรถ
และเป็นช่วงที่ Big Player อย่าง Alibaba
ลงมากระตุ้นเทรนด์ E-Commerce พอดี
ถือว่าโอกาสพอเหมาะพอเจาะ

11. ค่าขนส่งขอไทยตก 65 บาทต่อรายการ
เมื่อเทียบกับจีนที่ใหญ่กว่าไทย 18 เท่า
ประเทศเขาตกอยู่ที่ 15 บาทต่อรายการเท่านั้นเอง
และนี่เองคือช่องว่างราคาที่เขามองเป็นโอกาส

12. “เปลี่ยนจุดอ่อนคู่แข่ง
เป็นจุดแข็งของเรา”

13. ในชีวิตการทำ Flash Express
เคยผ่านอุปสรรคมาเยอะ แม้กระทั่งโดนยักษ์ใหญ่
จากจีนเขี่ยจากขบวนรถไฟ(ปฏิเสธความร่วมมือทางธุรกิจ)

เขาบอกกับครอบครัวว่า
“ถ้าไม่ได้ทำ Flash Express
จะไม่มีความสุขตลอดชีวิต”
และให้ข้อคิดว่า คนจะเติบโตได้ต้องเจอฝนเจอฟ้าบ้าง

14. Flash ไม่ได้หมายความแค่สายฟ้า ,ความรวดเร็ว
สายฟ้านั้นเกิดขึ้นเมื่อมีพายุ เขาบอกว่า
“ปัญหายิ่งเยอะ ยิ่งแข็งแรงเหมือนสายฟ้า”
และนี่คือวัฒนธรรมองค์กรเขา

15. การลงทุนแบบหมดหน้าตัก
ยอมขายบ้าน ขายรถของเขา
นั่นทำให้คิดว่ามันถอยไม่ได้
และไม่ให้ตัวเองย้อนไปที่เดิม

16. เมื่อเข้าธุรกิจใหม่ ๆ ทำราคาแรงมาก
แต่นั่นทำให้ลูกค้ากลัวว่า จะเอาของเขาหนีหรือเปล่า
และด้วยสาขาที่น้อยมาก มีแค่ในกทม.และปริมณฑล​ จึงจับคู่พันธมิตรกับไปรษณีย์ไทย
จึงได้เข้าใจว่า องค์กรไปรษณีย์ไทยเป็นโครงสร้าง
ของประเทศไปแล้ว เพราะจดหมายฉบับเดียวยังส่ง
ถึงชนบทได้

17. การมีพันธมิตรมาช่วยเยอะ ๆ นั้น
หลายคนมองว่าเป็นการเลี้ยงเสือให้โต
แล้วถูกกิน แต่เขามองว่า “เลี้ยงเสือให้เชื่อง”
ด้วยการช่วยเหลือคู่แข่ง

18. การทำตลาดโดยที่แบรนด์ไม่ดังนั้นยาก
จึงตัดสินใจจ้างพรีเซนเตอร์คือ “ติ๊ก เจษฎาพร”
ด้วยจุดประสงค์คือสร้างความเชื่อ ซึ่งสำคัญที่สุด
ในธุรกิจขนส่ง

19. เขาแบ่ง Flash Express เป็น 3 ยุค คือ
ยุคอันธพาล ยุคนี้ มีจ้างพนักงานขาย 200 คนเพื่อ
ไปสร้างความรู้จักกับลูกค้าที่หน้าร้านคู่แข่ง
และค่อยนำเสนอบริการของตัวเอง
ยุคนี้มีการอัดฉีดคอมมิชชั่นดุเดือดมาก

ยุคนี้มีการคอรัปชั่นสูงมาก
เพราะส่วนหนึ่งมาจากการดึงคนรู้จัก
เข้ามาทำงานร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาขาดกำลังคน

ยุคกฎระเบียบ ทำให้คนลาออกมาก
แต่ถ้าไม่ทำอะไรเลย องค์กรอาจตายได้
ภายใน 6 เดือน แต่นั่นทำให้คนที่เข้ามาใหม่
เป็นคนที่เข้าใจองค์กร ทำงานเป็นทีม
และมีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น

ยุควัฒนธรรม เป็นยุคที่กำลังสร้าง
เพื่อให้ได้คนที่มีวัฒนธรรมเดียวกัน
มาทำงานร่วมกัน

20. เชิงมุมบริหารนั้น ในยุคอันธพาล
ต้องใช้ระบบความเชื่อและให้อำนาจพนักงาน
เพราะทำงานได้เร็ว

ยุคต่อมาเป็นยุคการติดตาม
เพื่อให้งานถูกต้อง ตรงเวลา เห็นผลหรือไม่

ยุคที่สาม เป็นยุคการแข่งขัน
เมื่อพนักงานเยอะขึ้น ต้องมองดูว่าใครทำงานได้
หรือไม่ได้ และเมื่อทำงานไม่ได้ก็ต้องเรียกมาคุย
ไม่ว่าคนคนนั้นจะเป็นพนักงานที่สนิทมากแคไหน
โดยใช้หลัก “ตัดสินใจแบบ CEO แต่ช่วยเหลือแบบเพื่อน”

21. ธุรกิจขนส่งต้องอาศัย Economies of scale
หัวใจคือ ต้องทำพร้อมกับการลดต้นทุน
เขามีการทุ่มงบ develop เดือนละ 60 ล้านบาท
ทั้งหมดเพื่อลดต้นทุนในระยะยาว

22. คู่แข่งยอมส่งสายสืบมาสมัครงาน
เพื่อดูนโยบายการแข่งขันของเรา
แต่เราไม่เสียเวลาไปเล่นงานเขา
สู้เอาเวลาไปทุ่มเทให้กับการบริการให้ลูกค้าดีกว่า
นั่นทำให้ ยอดส่งของจาก 5,000 ชิ้นต่อวัน
โตไปสู่หลัก หนึ่งล้านชิ้นต่อวันได้ในเวลาต่อมา

23. หลายคนมองว่า Flash Express
เป็นบริษัทขนส่งหรือแค่โลจิสติกส์ แต่เขามองว่าเขาเป็นผู้ให้บริการ E-Commerce อย่างครบวงจร

24. ก่อนที่จะนำเทคโนโลยีมาใช้ในองค์กร
ควรแก้ปัญหาพื้นฐานเช่นเรื่องคน เรื่องประสบการณ์
เรื่องวิธีการ เมื่อแก้ได้แล้วจึงนำเทคโนโลยีมาช่วย

25. การระดมทุนไม่ใช่การขอเงิน
แต่คือการพาโอกาสไปให้คนอื่น

26. นักลงทุนอยากรู้ว่าคุณคือใคร ?
ทำไมต้องเป็นคุณ ทำไมไม่ใช่คนอื่น ?

27. จากนักลงทุน 60 ราย
ได้มาแค่ 2 ราย สูตรลับในการเตรียมตัว
คือการนำเสนอหลายรูปแบบ
แบบที่ 1 ใช้เวลา 3-5 นาที
แบบที่ 2 ใช้เวลา 10-15 นาที
แบบที่ 3 จบภายใน 1 ชม.
เพราะนักลงทุนอาจไม่มีเวลาให้เราทั้งวัน

28. ทีมระดมทุนจำเป็นต้องทำการบ้าน
ของนักลงทุน ตั้งแต่ ประวัติการศึกษา
,ครอบครัว , บริษัทที่เคยลงทุนมาก่อน
และมีเงินทุนเท่าไหร่

29. เราต้องทำให้ venture capital
เชื่อว่าเราคือผู้เชี่ยวชาญตัวจริง
การนำเสนอบ่อย ๆ ทำให้มีความมั่นใจ
มีความเชื่อ และเราต้องพูดเหมือนสิ่งนั้นเกิดขึ้นจริงแล้ว

30. เลือกผู้ลงทุนผิด ธุรกิจเละทันที
ผู้ลงทุนที่ใช่ ต้องสนับสนุนความฝันของเรา

31. เหตุผลที่ไม่เลือกระดมทุนในไทยก่อน
เพราะนักลงทุนชาวไทยจะมองที่กำไรก่อน
และคาดหวังให้ทำกำไรเร็ว ๆ ซึ่งเวลากำไร
ที่เหมาะสมจริง ๆ แล้วนั้น ให้ดูว่าเพดาน
ของอุตสาหกรรมอยู่ที่ไหน

32. การขาดทุนไม่ใช่สิ่งน่ากลัว
แต่สิ่งที่น่ากลัว คือ ควบคุมการขาดทุนไม่ได้
ไม่รู้ว่าขาดทุนเพราะอะไร

33. CEO ที่ดีในช่วงเริ่มต้น
ต้องใช้เวลากับลูกค้า สินค้า และ
เพื่อนร่วมงาน ไม่ควรอยู่กับ PR
หรืองานสังคม เพราะถ้างานดีพอ
สังคมจะเข้ามาหาเอง

34. ถ้าใครก็ตามเข้ามาหาเรา
แสดงว่าเขามีสิ่งที่ต้องการอยู่แล้ว
แต่ถ้าเราเข้าไปหาเขาก่อน
ก็แสดงว่าเรามีสิ่งที่ต้องการเช่นกัน

35. การมีพันธมิตรนั้นสำคัญ
การที่ Flash จับมือกับ OR
อย่างน้อยก็ได้ค่าน้ำมันถูกลง

36. ในด้านการลงทุนนั้น
ตอนเริ่มต้นคิดเพียงว่า
1. เราต้องการเงินเท่าไหร่
2. เอาเงินมาทำอะไร
3. ทำแล้วจะได้ผลอะไร

37. การอยู่รอดของ Startup
ไม่ได้ขึ้นอยู่กับ one man show
หรือมุมมองที่เรามีแค่ one product
ย่อมเสี่ยงกว่าการที่เรามีหลาย product

38. สิ่งสำคัญที่จะทำให้ Startup อยู่รอด
คือ 1. ต้องใจกล้า 2. ต้องใจกว้าง 3. ต้องใจนิ่ง

39. การดึงคนเก่งเข้ามาทำงาน
สำหรับ Startup แล้วนั้น
เงินเดือนไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่สุด
ถ้าคุณไม่เข้ามาทำตั้งแต่วันแรก
คุณจะไม่มีโอกาสได้หุ้นที่มากที่สุด
เพราะถ้าคุณเข้ามาในวันที่องค์กรโตแล้ว
คุณก็เป็นแค่พนักงานทั่วไป

40. การทำงานกับ Startup ให้ประสบความสำเร็จ
อย่าดูที่ตำแหน่ง แต่ให้ดูว่าช่วยอะไรได้บ้าง
อย่าจำกัดศักยภาพตัวเอง และต้องมีความอดทนสูง

41. เขาเชื่อใน Work life balance
แต่การทำงานแบบ Startup ยังต้องเป็น
Work life flow ซึ่งพร้อมรับมือ
ความเปลี่ยนแปลงเสมอ

42. “เมื่อเจอปัญหาแล้ว จะเจอความรักที่แท้จริง”
วันที่เขาแจ้งผู้บริหารหลายคนว่า
บริษัทกำลังเจอวิกฤติ
มีทั้งคนออกไป และทั้งคนที่ร่วมต่อสู้ต่อไป

43. “ทุกอย่างที่เป็นไปไม่ได้
มาจากความเป็นไปได้ในเรื่องเล็ก ๆ”
ทุกครั้งที่เจอปัญหาใหญ่ ให้ย่อยออกมาเป็น
ปัญหาเล็ก ๆ แล้วค่อยแก้ แล้วจะพบความเป็นไปได้

44. ฝากถึงใครก็ตามที่จะเข้ามทำ Startup ว่า
พร้อมรับความล้มเหลวจริงมั้ย ?
มองข้ามชีวิตส่วนตัวได้มั้ย ?
ปล่อยวางชื่อเสียงและอำนาจได้มั้ย ?

45. เส้นทางสาย Startup จะเดียวดายมาก
เมื่อเล่าเรื่องเสียใจ เขาก็ตอกย้ำเรา
เมื่อเล่าเรื่องดีใจ เขาก็ว่าอวดโอ้
จึงต้องฝึกอยู่กับตัวเองให้ได้จริง ๆ

46. Startup ในไทยรอดแค่ 5%
เรามั่นใจจริง ๆ ใช่มั้ยว่าเป็น 1 ใน 5
ถ้าไม่มั่นใจให้ไป join กับคนเก่ง ๆ ดีกว่า

=========
ข้อคิดเหล่านี้คงเป็นประโยชน์ต่อท่าน
นำไปต่อยอดสู่ความสำเร็จได้ครับ

ข้อมูลทั้งหมดผมถอดมาจากการสัมภาษณ์
ผ่านรายการ The secret sauce Ep.389-391

ขอบคุณครับ
ธนบรรณ สัมมาชีพ 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *