“เปลี่ยนที่ทุกข์”
จะเข้าป่า จะไปขึ้นเขามันก็เท่านั้น
จะไปทะเลฟังเสียงคลื่นซัดสาด สู้ๆ มันก็เท่านั้น
เมื่อใจดวงเดิม สมองเดิม ร่างเดิม เราคนเดิม
ไม่ยอมเปลี่ยนวิธีคิดใหม่หรือวิธีมองโลกใหม่
ต่อให้ไปเที่ยวนอกโลกมันก็แค่ “เปลี่ยนที่ทุกข์”
วิธีมองโลกในแบบที่มันเป็นตามวิถีชาวพุทธ
จึงเป็นแนวทางสู่การพ้นทุกข์ที่จริงแท้ที่สุด
ตอนสุขก็รู้ว่าสุข และรู้ตัวว่าสักพักสุขจะผ่านไป
ตอนทุกข์ก็รู้ว่าทุกข์ และรู้ตัวว่าสักพักทุกข์
จะผ่านไปเช่นกัน
กฎแห่งกรรมนั้นทำหน้าที่ของมันได้ยุติธรรม
ผลไม้ทั่วไปเราใช้เป็นอาหาร ต่างจากพันธุ์ไม้
ที่เป็นพิษที่คร่าชีวิตเราได้หากพลาดพลั้งลิ้มรส
ดังนั้นก่อนหว่านเมล็ดพันธุ์อะไร พึงศึกษาให้ดี
ถึงผลลัพธ์ที่จะได้ในอนาคต ไม่ต่างจาก
เมล็ดพันธุ์ความคิด…
“ความคิดที่ปรุงให้ทุกข์มันก็พาให้ใจซึมเศร้า
ความคิดที่ปรุงให้สุขมันก็พาเราซึมสุข”
คำว่า “โลกภายใน” กับ “โลกภายนอก”
นิยามมันต่างกันสิ้นเชิง การออกผจญภัย
ออกท่องเที่ยวโลกภายนอกจริง ๆ แล้ว
คือการช่วยให้เราได้ก้าวขาออกจากวงล้อมปัญหาเดิม ไปเจอสิ่งแวดล้อมใหม่ ไปเจอผู้คน
แปลกหน้าเผื่อได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
กิจกรรมที่ควรเกิดขึ้นในช่วงท่องเที่ยว
มันก็อารมณ์เหมือนกับที่เราชอบพูดว่า
“นั่งโง่ ๆ” จริงแล้วสิ่งที่ต้องทำคือคุยกับตัวเอง
ไม่ใช่นั่งฆ่าเวลาไปเรื่อยเปื่อย
อะไรคือต้นเหตุแห่งทุกข์ เช่น…
หนี้สินรุมเร้าเพราะอะไร จะแก้ไขอย่างไร ?
ผิดกับเจ้านายเพราะอะไร จะลาออกหรือ
ทำงานต่อ วางแผนไว้อย่างไร ?
ป่วยออดออดแอดแอดเพราะอะไร จะแก้ไข
อย่างไร ?
พอใจกับความเป็นอยู่ของชีวิตในตอนนี้มั้ย
ถ้าไม่วางแผนจะพัฒนาไว้อย่างไร ?
คนเราเมื่อได้คิดก็คิดได้ เมื่อคิดได้ก็จัดการ
เอาชนะใจตัวเอง ก้าวเดินต่อให้เร็วที่สุด
ปฏิบัติการกระเทาะให้ต่อม Comfort zone
มันแตกซะ เมื่อทำบ่อยเข้าจนเป็นนิสัย
เราจะเป็นคนใหม่ที่โคตรสตรอง
อย่าไปเที่ยวแบบแค่เปลี่ยนที่ทุกข์
แต่จงสุข ๆ ๆ ทุกครั้งที่ได้ก้าวขาไปข้างหน้า
ไม่ว่าจะไปเที่ยวหรือไปทำงาน
เราก็จะไม่หวาดหวั่นอะไรอีกแล้ว
เพราะโลกภายในมันเปลี่ยนแปลงพร้อม
รับมือทุกสถานการณ์
ขอบคุณครับ
ธนบรรณ สัมมาชีพ
ขอบคุณภาพจากเพจ wild free