ตรรกะและเหตุผล

คนที่​ “ตรรกะและเหตุผล”(ศาสตร์​)​มาก
จนเกินไป​ อาจพาไปสู่​คำตอบที่ผิดได้​
ผู้ที่ศึกษาแนวปรัชญา​บ้างจะรู้ครับว่า
… เหตุ​ผลใช้อธิบายทุกเรื่องไม่ได้หรอก​

แม้กระทั่งบริษัท​ที่ปรึกษา​ระดับโลก
ยังต้องสะดุ้งเมื่อการคิดด้วยตรรกะและเหตุผล​
เพื่อให้ได้คำตอบที่ถูกต้อง​เพียงหนึ่งเดียว
ตามตำรา​ เมื่อเวลาผ่านไปมักถูกแทนที่
ด้วยคนที่คิดได้เหมือนกัน​แถมคิดได้เร็วกว่า​
เมื่อใช้ตรรกะและเหตุผล​มากเข้า
เราก็สามารถใช้​ AI​ เข้ามาแทนที่ซะเลย

ดังนั้นผู้ที่จะเป็นผู้นำในยุคสมัย​นี้จึงต้องเป็น
ผู้ที่ใช้อารมณ์​และสัญชาตญาณ​(ศิลป์)​
ได้ดีเลิศ​ด้วย สามารถใช้ศาสตร์​และศิลป์
ในสัดส่วนที่พอดีไม่เอียงซ้ายหรือขวามากไป

ผมเก็บไปคิดนะที่เขาบอกว่า…
คนที่เก่งเรื่องศิลป์มักเถียงแพ้คนที่เก่งเรื่องศาสตร์​ เพราะคนประเภทหลังเขาจะมีข้อมูล​สนับสนุน​เยอะถ้าไม่เจ๋งจริงโค่นยาก​ชิบ

อ่านต่ออีกนิด… โลกไม่ได้เจริญ​เพราะความเหมือนหรอกนะ เมื่อคิดด้วยตรรกะและเหตุผล
ก็จะได้ทางออกเดียวกัน​ เหมือนกันทุกสำนัก

แต่โลกของเราเจริญ​ได้เพราะความแตก​ต่าง
มันต้องอาศัยสัญชาตญาณ​ ความนอกกรอบ
ปลดปล่อย​ความคิดล่องลอยบ้าง​และนี่จะเป็น
สาเหตุที่ท้ายสุดแล้วคนที่ใช้ศิลป์นำจะกลับมาถือไพ่เหนือกว่า​ได้ในตอนจบ

อัลเบิร์ต​ ไอน์สไตน์​กล่าวไว้​
“จินตนาการสำคัญกว่า​ความรู้​”
ผ่านมาหลายปี​ มันก็เริ่มชัดขึ้นเรื่อย​ ๆ
ไม่ต้องเชื่อก็ได้นะครับ​ ดูกันยาว​ ๆ
จะเก่งศาสตร์​ไหนก็ดี​ เอาตัวให้รอด
เป็นยอดดีครับ

ขอบคุณ​แนวคิดจาก​ ยามางุจิ​ ซู
จากหนังสือ​ “เก่งด้วย​ศาสตร์​ ชนะขาดด้วยศิลป​์”
นักเขียนรางวัลHR​ Award 2018​
จากประเทศ​ญี่ปุ่น​

ขอบคุณ​ครับ
ธน​บรรณ​ สัมมาชีพ
ขอบคุณ​ภาพ​ Which one are you?
by @pascalcampionart 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *