“สมาธิ สติ ปัญญา”
ทำไมจึงมักเรียกว่า “สติปัญญา” ต่อกัน
(สติ+ปัญญา) เพราะปัญญาจะเกิดได้ต้อง
มีสติเสียก่อน และก่อนจะมีสติได้นั้น ต้องมี
สมาธิหรือความตั้งมั่นของจิตด้วยประกอบกัน
บทเรียนชีวิตจากลูกน้อง
ผมนั่งดูลูกน้องสองคน ชื่อเอกับบี(นามสมมุติ)
– เอนั่งสไลด์มือถือทั้งวัน
– ส่วนบีทำงานแบบไม่วอกแวก
ผลงานของบี คนที่ไม่วอกแวกนั้นดีกว่า
เพราะมีสมาธิยาว (ไม่จับมือถือมาเล่น)
หรือใจอยู่กับเนื้อกับตัวตลอดเวลา
ส่วนเอ คนที่สมาธิสั้นนั้นจะมีปริมาณงานน้อย
แถมงานมีคุณภาพต่ำ ด้วยจิตใจไม่ได้จดจ่อ
และแน่นอนว่าใจไม่ค่อยอยู่กับเนื้อกับตัว
จนสังเกตได้
ผมไม่ได้มีเจตนานินทาลูกน้อง
แค่เมื่อเห็นดังนั้นก็หยิบมาสอนใจตัวเองว่า…
ผมเองก็เหมือนมีเด็กสองคนนี้อยู่ข้างใน
ถ้าเผลอฟุ้งซ่านก็เหมือนเอ
ถ้ามีสติก็ผลิตผลงานได้ดีเหมือนบี
คนที่จะสร้างผลงานคุณภาพได้ต้องมีสติ
รู้ตัวว่ากำลังทำงาน โฟกัสไปที่งานตรงหน้า
คนที่จะเสียงาน มักเริ่มจากฟุ้งซ่านในเวลางาน
ไม่อยู่กับปัจจุบันขณะ แยกไม่ออกระหว่าง
“งานสำคัญหรือไม่สำคัญ” กับ
“งานเร่งด่วนหรือไม่เร่งด่วน”
สุดท้ายก็โดน”งานไม่สำคัญและไม่เร่งด่วน”
เล่นงานเข้าจนได้
การฝึกสมาธินั้น ต้องศึกษากันเอาเอง
(ค้นหาใน Google, Youtube มีเพียบ)
เมื่อสมาธิยาวเมื่อไหร่ เราก็ได้สติ ทำงานได้สำเร็จเร็วขึ้น แถมสิ่งที่ได้เพิ่มเติมคือจิตใจ
ที่แข็งแรง มั่นใจตัวเอง เปล่งปลั่งจากภายใน
ถือว่าเล่าสู่กันฟังนะครับ
ผมเองก็มีช่องว่างระหว่างวัยกับลูกน้อง
ร่วม 20 ปีได้ จึงค่อยบอกค่อยสอนกันไป
ความสำเร็จของลูกน้องหรือลูกศิษย์
มันก็คือความสำเร็จของเรานั่นแหละ
ดังนั้นโจทย์ที่จะทำให้พวกเขามี “สติปัญญา”
จึงเป็นโจทย์ที่เราต้องแก้ ต้องวางแผนลงมือทำ
จริงมั้ยครับ…?
หวังว่าทุกท่านจะได้ข้อคิดดี ๆ กันเช่นเคยครับ
ขอบคุณครับ
ธนบรรณ สัมมาชีพ
www.thanaban.com
======
ภาพจาก Thanaban โดย Midjourney.