“#ถูกครับพี่”
“#ดีครับนาย”
“#ได้สิครับ#ไม่มีปัญหา100%”
“#จัดให้ตามใจฮะ”
.
.
ในองค์กรของคุณมีมนุษย์พันธุ์นี้อยู่กี่ %
ลองอ่านบทความนี้
======
ทุกครั้งในบรรยากาศการประชุมเพื่อระดมสมอง
จะมีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยเป็นเรื่องปกติ
>> #ผู้ที่ไม่เห็นด้วย <<
จะมีประเด็นให้เราต้องกลับมาคิด ว่ายังมีรายละเอียด
ที่เราอธิบายไม่เคลียร์ หรือข้อเสนอของเรายังไม่น่าสนใจพอ
มองในเชิงบวกคือ ทำให้เรารอบคอบ รัดกุม มองรอบด้านและช่วยทำให้การนำเสนอครั้งต่อไปมีประสิทธิภาพมากขึ้น
.
.
>> ส่วน#ผู้ที่เห็นด้วย <<
จะช่วยเสริมหลักการหรือทฤษฎีของเราให้หนักแน่น
ถือว่าเป็นฐานคะแนนที่ช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายในการ
ประชุมเพื่อตัดสินใจอะไรบางอย่าง
ผู้ที่เคยเห็นด้วยกับเรา บางครั้งก็จะไม่เห็นด้วยในบางคราวก็ไม่ถือเป็นเรื่องแปลกเพราะเป็นการช่วยเกลาความคิดในหลาย ๆ ประเด็นการพูดคุย
======
ประเด็นคือ ไอ้เจ้า #Yes_Man จะมีพฤติกรรมคือ
– เห็นด้วยกับเขาไปหมด
– อะไรก็ได้ อะไรก็ยอม ยังไงก็ได้
– แค่ได้ฟังอะไรมาก็เห็นด้วยทันที
– เอาที่พี่สบายใจ
– ได้หมดถ้าผมสดชื่น
#Yes_Man บางทีก็อยู่ในระดับสูงในองค์กร
เวลาผู้บริหารสูงสุดขอความคิดเห็นก็เออออห่อหมก
ไปทุกเรื่อง ผู้ฟังก็สบายใจ เคลิ้มไปกับคารมที่
เจ้า Yes Man คอยประจบ
.
.
ถึงเวลาที่ต้องวิเคราะห์งานทุกชิ้นให้ละเอียด
โครงการใหญ่ ๆ ต้องระดมไอเดียจากหลากหลาย
แผนก เมื่อตกผลึกแล้วจึงขับเคลื่อนงานตามขั้นตอน
มีคนเห็นด้วย ไม่เห็นด้วยบ้างเป็นเรื่องปกติในสังคม
___________📚 __________
เปาลู กูเอลยู – นักคอลัมนิสต์ชาวบราซิลกล่าวไว้ว่า
“ถ้าทุกคนรักเราต้องมีบางอย่างผิดปกติ
เพราะเราไม่สามารถทำให้ทุกคนรักได้”
___________📚 _________
เอาล่ะครับ
นอกเหนือจากลูกน้องประเภท Yes Man แล้ว
ยังมีเจ้านายประเภท Yes Man ด้วย กล่าวคือ
ลูกน้องขออะไรมา พูดอะไรมาก็เชื่อเขาทั้งหมด
เพราะกลัวลูกน้องเสียใจ
บางครั้งงานที่ลูกน้องนำเสนอขึ้นมามีช่องโหว่
รูรั่วเยอะแต่ก็ไม่กล้าให้คำแนะนำ ว่ากล่าวตักเตือน
จนต้องเสียงานเสียการ
อีแบบนี้ก็คงไม่พ้นที่เขาบ่นกันดัง ๆ ว่า
“Yes Man เอ๊ย!!!” อีกเช่นกัน
ขอบคุณครับ
ธนบรรณ สัมมาชีพ