Starbucks ทำไมต้องเบียร์

ผมเป็นคนหนึ่งที่ไม่ชอบดื่มกาแฟ แต่ชอบดื่มเบียร์
ทั้ง ๆ ที่มันก็ออกจะมีรสชาติขมเช่นกัน
เมื่อ Starbucks หันมาขายเบียร์ผมเลยต้องแอบ
กระหยิ่มยิ้มย่องในใจเพราะส่วนตัวแล้วหลงรักบาริสต้า
เอ๊ย….หลงรักบรรยากาศในร้าน Starbucks มาหลายปีแล้ว

แต่ประเด็นคือ ยังไม่มีร้าน Starbucks สาขาไหนในไทย
ที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หากแต่มีอยู่ที่ต่างประเทศ
คือที่ เมืองซีแอตเทิล รัฐวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา
ที่นั่นน่าจะเป็นสวรรค์นักดื่มเพราะตอบโจทย์ครบ
เพราะมีทั้งเหล้า เบียร์ ค็อกเทลและแน่นอนเจ้ากาแฟด้วย

Starbucks Reserve นี้ยังใช้สโลแกนเก๋ ๆ รับการแข่งขัน
ในยุคปัจจุบันว่า “open, marketplace style”
ข้อมูลที่เชื่อถือได้จาก Brandinsideasia ระบุว่า
Starbucks สาขานี้จะยังไม่ขายของมึนเมาในช่วงเช้า
หากแต่หลังเที่ยงไปเมื่อไหร่ก็จะเริ่มเสิร์ฟนักดื่มกัน
ซึ่งตัวเลขเวลาเปิด – ปิด อาจต้องไปดูที่กฎหมายพื้นที่อีกที

ที่ผมเล่ามาทั้งหมดมันจะไปผนวกกับที่จั่วหัวไว้ด้านบนครับ
Starbucks รู้ดีว่าน้อยคนทีจะสั่งกาแฟแก้วต่อแก้ว
เพราะหัวใจคงสั่นเป็นลั่นกลองรบ

แต่คนจำนวนมากที่สั่งเบียร์แก้วต่อแก้ว
ยิ่งบรรยากาศดี อารมณ์พาไปแล้วล่ะก็
ถึงไหน ถึงกันรู้ตัวอีกทีก็เริ่มเดินเซไปเซมา

ผู้ที่มองเห็นโอกาสจึงคว้าไว้อย่างว่องไว

ผมนำตัวเลขจากเพจลงทุนแมนมาประกอบดังนี้
รายได้จากกาแฟ 1 แก้ว คือ 130 บาท
ต้นทุนสินค้าและค่าตกแต่งร้าน 52.50 บาท
ค่าเช่า ค่าพนักงาน 53.50 บาท
ค่าใช้จ่ายอื่นและภาษี 7 บาท
กำไร 17 บาทต่อแก้ว

เมื่อคิดแบบหยาบ ๆ ว่ากำไรจากการขายเบียร์
หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อื่น ๆ มีกำไรอยู่ที่ 17 บาท
ต่อแก้วเท่ากันแล้วละก็
เมื่อนักดื่มสั่งแก้วต่อแก้วเป็นอย่างน้อยก็เท่ากับว่า
กำไรต่อหัว 17×2= 34 บาทเป็นอย่างต่ำแล้วนะ
ยังไม่รวมกับแกล้มหรืออาหารการกินอื่น ๆ อีก

ผมสันนิษฐานว่า
พวกนักดื่มไม่ค่อยนั่งแช่ หรือเอาการบ้านมาทำซะด้วยสิ
อัตราหมุนเวียนก็น่าจะเร็วขึ้น

หรือหากนั่งแช่จริงก็อาจสั่งเครื่องดื่มมึนเมามานั่งซด
เป็นระยะ ๆ ใครจะไปรู้ ซึ่งหากดื่มมาก ๆ เข้า อาจส่งเสียง
เจี๊ยวจ๊าวสไตล์สุราชนสนทนากัน

เอาล่ะครับ ทั้งหมดที่เล่ามา
ผมพยายามชี้ให้เห็นว่าช่องทางการทำมาหากินมันมี
เรื่อย ๆ อยู่ทุกที่ เจ้าใหญ่ ๆ อาจจะขยับเร็วเพราะ
พร้อมด้วยเงินทุนและระบบที่เข้มแข็ง

ส่วนเจ้าเล็ก ๆ ผมรู้ว่าไม่ได้นิ่งนอนใจแต่อาจขาดปัจจัยหลายอย่าง
ที่จะเริ่มต้น จึงได้แค่ด้อม ๆ มอง ๆ ไปก่อนสักระยะ
แต่อย่างไรก็ตาม ผมหวังว่าบทความนี้จะสร้างประโยชน์
ให้กับผู้อ่านทุกท่านไม่มากก็น้อย

ขอบคุณครับ

ธนบรรณ สัมมาชีพ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *