ติดป้ายห้ามขโมย

#ติดป้ายห้ามขโมย
วิธีนี้ก็ใช้กันค่อนข้างบ่อย
เพราะแทบไม่ต้องลงทุนอะไรมากมาย
แค่กระดาษปากกา หรือถ้าให้สวยงามหน่อย
ก็ปรินท์สีออกมาแปะไว้ตามจุดอับที่ลับตาคน

หรือจุดที่คิดว่าสุ่มเสี่ยงต่อการกระทำการลักขโมย
ซึ่งใช้ได้ทั้งป้องกันลูกค้าภายนอกและตัวพนักงาน
ภายในที่คิดไม่ซื่อ

ตัวอย่างของข้อความที่ใช้บ่อย คือ
“การลักขโมยเป็นโทษทางอาญา” ,
“ขอเอาผิดกับหัวขโมยทุกกรณี ไม่มีข้อยกเว้น”,
“ขโมยของทำให้ตายไปตกนรก”
โดยเฉพาะตัวข้อความต่อไปที่ใช้กันแพร่หลาย
“ขโมยของปรับ 10 เท่า”
ซึ่งมีข้อสงสัยกันเยอะว่า เฮ้ย!!! ทำได้จริงเหรอ

วันนี้ลองมาอ่านบทความจากเพจ #ทนายเพื่อนคุณ
ที่โพสไว้เมื่อวันที่ 29 มีนาคม ปี 2016 มีใจความดังนี้

เชื่อว่าหลายๆคนคงจะได้เจอะเจอป้าย
‘ขโมยของปรับ 10 เท่า’ ตามร้านขายของต่างๆหรือแม้แต่ห้างสรรพสินค้าก็เคยพบเจอ
หลายๆคนคงสงสัยว่าทำได้จริงเหรอ?
จะเป็นการกรรโชกทรัพย์หรือไม่?

การขโมยหรือการลักทรัพย์ในทางกฎหมายเป็นอาญาแผ่นดิน
เมื่อตำรวจรับเป็นคดีแล้วหรือฟ้องศาลแล้วไม่สามารถยอมความได้ถึงแม้ผู้เสียหายจะไม่ติดใจเอาความ

แต่ในทางปฏิบัติที่เจอในชีวิตประจำวันเมื่อหัวขโมยถูกจับได้ผู้เสียหายมักไม่เอาเรื่องเอาราวคืนของแล้วก็จบกันหรือบางทีหัวขโมยกับผู้เสียหายไปตกลงกันที่โรงพักโดยตำรวจจะช่วยไกล่เกลี่ยก็จบกัน

เรื่องนี้สามารถทำได้ครับ
ขโมยจะใช้10เท่า ถ้าผู้เสียหายพอใจก็ไม่ต้องติดคุก
กรณีนี้คือตำรวจยังไม่รับเป็นคดีนะครับ
แต่ถ้าตำรวจรับเป็นคดีเมื่อไหร่หรือฟ้องศาลไปแล้ว

หัวขโมยยอมชดใช้ค่าเสียหายจนผู้เสียหายพอใจและไม่ติดใจเอาความ ไม่สามารถยอมความกันได้นะครับ คดียังต้องดำเนินต่อไป

ถ้าคดีอยู่ในชั้นศาลการชดใช้ผู้เสียหายถือว่าหัวขโมยสำนึกผิดหรือพยายามบรรเทาผลร้ายจากการขโมยศาลก็จะบรรเทาโทษให้ไม่เกินกึ่งหนึ่ง ตาม ป.อาญา มาตรา 78 นั่นคือยังมีความผิดแม้ชดใช้ไปแล้วแต่โทษอาจลดลงครับ

ในอดีตเคยมีเหตุการณ์หัวขโมยถูกเจ้าของร้านจับได้แล้วเรียกค่าเสียหายเพื่อแลกกับการไม่ไปแจ้งความปรากฏว่าหัวขโมยยอมจ่ายชดใช้ให้เจ้าของร้าน แต่ภายหลังหัวขโมยไปแจ้งความว่าเจ้าของร้านกรรโชกทรัพย์ปรับเป็นเงินเป็นจำนวนหลายเท่าของราคาสินค้าจริง จนคดีขึ้นสู่ศาลฎีกา

จนศาลท่านตัดสินว่าเจ้าของร้านไม่มีความผิดฐานกรรโชกทรัพย์เพราะเชื่อโดยสุจริตว่าเป็นสิทธิทางอาญาในการที่เจ้าของร้านตกลงว่าถ้าชดใช้ค่าเสียหาย ก็จะไม่ส่งไปดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ตำรวจดังนั้นไม่เป็นการบังคับ ขู่เข็ญใจ
ตามความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ครับ (ฎีกา 2688/2530)
, ( ฎีกา 791/2470)

#สรุปขโมยของปรับ10เท่า
เจ้าของร้านทำได้ไม่ผิดฐานกรรโชกทรัพย์ครับ

ขอบคุณครับ

ธนบรรณ สัมมาชีพ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *