ความไม่อยาก

ชาวนาคนหนึ่งเจอ “ถุงเงิน” หล่นอยู่กลางถนน
ในถุงเงินมีเงินอยู่ 3 ตำลึง​ ชาวนาคนนี้แม้จะจน
แต่ก็เป็นคนซื่อสัตย์​ เขานำถุงเงินนี้ไปแจ้งตำรวจ
ให้สืบหาเจ้าของ

ในที่สุด ตำรวจก็สืบหาเจ้าของจนพบเป็นเศรษฐีใจดี
เศรษฐีเห็นความซื่อสัตย์ของชาวนาจึงยกเงินจำนวนนี้ให้​ แต่ชาวนาปฏิเสธ​ เขาถือว่าเงิน 3 ตำลึงนี้
เป็นของเศรษฐี ไม่ใช่ของเขา​ แม้เศรษฐีจะดึงดัน
ที่จะให้​ ชาวนาก็ไม่เอา

เจรจากันเท่าไรก็ไม่มีใครยอมกัน
สุดท้าย ตำรวจจึงพาทั้ง 2 คนไปหาผู้พิพากษาเพื่อให้ช่วยตัดสินปัญหานี้

แม้จะผ่านคดีมามากมาย แต่ไม่เคยมีคดีใดเหมือนกับเรื่องนี้​ คดีที่เคยเจอมักเป็นเรื่อง “ความอยาก”
แต่คดีนี้กลับเป็นเรื่อง “ความไม่อยาก”

ผู้พิพากษารู้สึกชื่นชมในความดีของ “เศรษฐี”
และ “ชาวนา” เขาอยากให้ทุกคนกลับบ้านอย่าง
มี “ความสุข”

หลังจากนั่งตรึกตรองอยู่พักหนึ่ง
ผู้พิพากษาก็ตัดสินว่าเมื่อทั้ง 2 ฝ่ายต่างไม่ยอมรับเงินทั้งหมด ดังนั้น จึงให้แบ่งเงินก้อนนี้คนละครึ่ง
แต่ในถุงมีเงินอยู่ 3 ตำลึง

แบ่งครึ่งไม่ได้
ผู้พิพากษาจึงควักเงินออกมา 1 ตำลึงแล้วหย่อนเพิ่มไปในกองกลางรวมเป็น 4 ตำลึง
แบ่งให้ชาวนา 2 ตำลึง เศรษฐี 2 ตำลึง

แล้วอธิบายเหตุผลของคำตัดสินนี้ว่า
ถ้าเขาตัดสินตามความต้องการของเศรษฐี
ชาวนาก็จะได้เงิน 3 ตำลึง
แต่ถ้าเขาตัดสินตามความต้องการของชาวนา
เศรษฐีก็จะได้เงิน 3 ตำลึง

ดังนั้น การที่เขาใส่เงินเข้าไปเพิ่มอีก 1 ตำลึง
และแบ่งให้แต่ละคนคนละครึ่งจึงเป็นคำตัดสิน
ที่ไม่มีใคร “ได้” ทุกคนต่าง “เสีย” อย่างเท่าเทียมกัน

ขอทานที่ควรจะได้ 3 ตำลึงก็ได้แค่ 2 ตำลึง
เสียไป 1 ตำลึง

เช่นเดียวกับเศรษฐีที่ควรจะได้ 3 ตำลึง ก็ได้แค่ 2 ตำลึงเสียไป 1 ตำลึง

ผู้พิพากษาก็เช่นกัน
เสียไป 1 ตำลึง

แต่สำคัญที่สุดคือทุกคนกลับไปบ้านอย่างมีความสุข
และนี่คือ “เป้าหมาย” ของคำตัดสินนี้

บทความ​ของคุณหนุ่มเมืองจันท์​ 2555-02-12

ขอบคุณ​ครับ
ธน​บรรณ​ สัมมาชีพ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *