อ่านกันมาหลายบทความ
เริ่มมึนกับพฤติกรรมของพวกมิจฉาชีพเหล่านี้กัน
ไม่มากก็น้อยใช่มั้ยครับ
ส่วนคำศัพท์ของกฎหมายบ้านเมืองเกี่ยวกับเรื่องพวกนี้
เรารู้ไว้บ้างก็ไม่เสียหาย ผมมีข้อมูลของสำนักงานกิจการยุติธรรม (สกธ.) ที่น่าสนใจมาสรุปให้อ่านดังนี้
ลักทรัพย์ = เอาไม่บอก
วิ่งราวทรัพย์ = เอาซึ่งหน้า
ชิงทรัพย์ = ทำร้ายแล้วเอา
ปล้นทรัพย์ = 3 คนร่วมกันเอา
กรรโชกทรัพย์ = ขู่จะเอา
รีดเอาทรัพย์ = ไม่ให้เอาจะแฉ
ฉ้อโกงทรัพย์ = หลอกแล้วเอา
ยักยอกทรัพย์ = แอบเอา
รับของโจร = เอาต่อจากคนอื่น
ทำให้เสียทรัพย์ = ทำแต่ไม่เอา
บุกรุก = เข้าไปจะเอา
#ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 334 ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่น หรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ต้องระวาง โทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกหมื่นบาท
มาตรา 335 ผู้ใดลักทรัพย์
(11) ที่เป็นของนายจ้างหรือที่อยู่ในความครอบครองของนายจ้างต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท
***จากประมวลกฎหมายอาญา(ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมใหม่ล่าสุด พ.ศ. 2562)
ความผิดฐานลักทรัพย์นายจ้างเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ไม่สามารถยอมความกันได้ ถึงแม้จะมีการคืนทรัพย์กันเรียบร้อยก็ถือว่ามีความผิด เพราะความผิดได้สำเร็จไปแล้ว
แต่ถ้าให้ความร่วมมือ รับสารภาพแต่โดยดี ศาลจะใช้ดุลยพินิจให้ความปราณีลงโทษสถานเบาได้ ขึ้นอยู่กับพฤติการณ์ของแต่ละคดี เช่น ราคาทรัพย์สิน ,นายจ้างไม่ติดใจดำเนินคดีแล้ว, มีการชดใช้ค่าเสียหายแล้วและประวัติของผู้กระทำความผิด เป็นต้น
ส่วนเรื่องความผิดฐานยักยอกหรือยักยอกทรัพย์นายจ้างนั้นก็ถือว่าเกิดขึ้นบ่อยในธุรกิจเช่นกัน
มาตรา 352 ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานยักยอก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าทรัพย์นั้นได้ตกมาอยู่ในความครอบครองของผู้กระทำความผิด เพราะผู้อื่นส่งมอบให้โดยสำคัญผิดไปด้วยประการใด หรือเป็นทรัพย์สินหายซึ่งผู้กระทำความผิดเก็บได้ ผู้กระทำต้องระวางโทษแต่เพียงกึ่งหนึ่ง
มาตรา 356 ที่บัญญัติว่า ” ความผิดในหมวดนี้
( หมวด 5 ความผิดฐานยักยอก )
เป็นความผิดอันยอมความได้ “
หากถึงหน้านี้ยังลืมความผิดฐานยักยอกอยู่
ผู้เขียนขอยกตัวอย่างอีกที
ตัวอย่าง ความผิดฐานยักยอกทรัพย์นายจ้าง ตามมาตรา 352 วรรคแรก เช่น นายจ้างมอบเครื่องทำน้ำอุ่นให้ลูกจ้างเอาไปขาย เมื่อขายได้แล้วให้เก็บเงินสดกลับมาส่งฝ่ายการเงินที่บริษัททันทีที่เดินทางกลับมาถึง พร้อมกับเครื่องทำน้ำอุ่นที่ยังไม่ได้ขายออกไปเพื่อนำคืนไปไว้ในคลังสินค้า
แต่ด้วยกิเลสบังตาในช่วงฟุตบอลพรีเมียร์ลีกเปิดฤดูกาล ลูกจ้างหลงผิดนำเงินไปพนันบอลทั้งหมดและนำไปใช้ส่วนตัวจนเกลี้ยง ทั้งยังไม่นำเครื่องทำน้ำอุ่นอีกจำนวนหนึ่งหายเข้ากลีบเมฆ จึงเป็นเรื่องเป็นราวขึ้นมา
ในชีวิตจริงล้วนไม่มีใครอยากขึ้นโรง ขึ้นศาลกันหรอกครับ
แต่ในเมื่อเรื่องมันเกิดขึ้นมาแล้วก็ต้องมาเคลียร์ปัญหากันให้จบ
เพื่อไม่ให้เป็นตัวอย่างที่ไม่ดีแก่พนักงานคนอื่น
ฝั่งนายจ้างหรือบริษัทเองก็ต้องอ้างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา 119 ที่บัญญัติไว้ว่า
มาตรา 119 นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้
(1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนา
(2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
(3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยตามวรรคหนึ่ง ถ้านายจ้างไม่ได้ระบุข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุที่เลิกจ้างไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างหรือไม่ได้แจ้งเหตุที่เลิกจ้างให้ลูกจ้างทราบในขณะที่เลิกจ้าง นายจ้างจะยกเหตุนั้นขึ้นมาอ้างในภายหลังไม่ได้
นอกจากนั้นก็จะไปฝ่าฝืนข้อบังคับการทำงาน อีกหลายต่อหลายข้อที่เป็นระเบียบกำหนดไว้ นำมาซึ่งความเสียหายร้ายแรงต่อบริษัท
ซึ่งความผิดทั้งหลายในหนังสือเล่มนี้ล้วนเป็นความผิดร้ายแรงที่บริษัทสามารถเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่จ่ายค่าชดเชยใด ๆ
มาถึงขั้นนี้แล้ว
อย่าลืมขุดรากถอนโคนเชื้อมะเร็งร้าย
โรคทุจริตออกซะให้หมด ไม่ว่าจะเป็นตัวเล็ก ตัวใหญ่
อายุงานมากขนาดไหนก็ต้องกำจัดให้เด็ดขาด
อย่าให้เหมือนนิทานชาวนากับงูเห่า
ที่วันหลังงูเห่าจะกลับมาแว้งกัด จนบริษัทต้องล่มจมแบบน่าเจ็บใจ
ขอบคุณครับ
ธนบรรณ สัมมาชีพ
———————–
⭐กดติดดาวเพจ (See first) เพื่อรับคอนเทนต์
บทความ ข่าวสาร แนวคิดดี ๆ ที่จะช่วยให้การทำ
ระบบแฟรนไชส์ของคุณมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง
#สอนทำแฟรนไชส์#ทำรายได้100เท่าใน1ปี
ติดตามและอ่านทุกบทความจากผมที่
http://www.2bfranchisedd.com/
======
พื้นที่โฆษณา
ท่านที่สนใจเรียนการทำแฟรนไชส์
“พื้นฐานแน่น แฟรนไชส์ปัง!!!”
สามารถสมัครเรียนออนไลน์ได้ที่
https://goo.gl/2yWzbc
หรือ inbox มาเลย ผมรออยู่
ขอบคุณครับ