“คุมองเป็นการเรียนเฉพาะตัว
ไม่ต้องแข่งกับคนอื่น แต่แข่งกับตัวเอง”
บทสัมภาษณ์จากเด็กคนหนึ่งที่เรียนกวดวิชา
กับคุมอง ที่ผมชอบและนำมาขยายความต่อ
แฟรนไชส์กวดวิชาในยุคนี้นั้นอยู่รอดยาก
แต่”คุมอง” กลับเป็นหนึ่งในผู้ที่รอดได้
ผมลองส่องยอดรายได้และกำไรเมื่อปี 2019
ปรากฎว่า…(ข้อมูลจากmarketeeronline)
รายได้รวม 630 ล้านบาท กำไร 149 ล้านบาท
คิดเป็นอัตรากำไรถึง 23.7% เลยทีเดียว
คุมองเป็นสถาบันพัฒนาทักษะที่ใหญ่
ที่สุดในโลกซึ่งมีจำนวนนักเรียนกว่า 4 ล้านคน
ใน 50 ประเทศและในหลายภูมิภาคทั่วโลก
และในไทยเองก็มีสาขาอยู่ถึง 483 สาขา
(ณ.ปัจจุบันน่าจะมีการเปลี่ยนแปลงจำนวน)
ต้องยอมรับว่ากลยุทธ์การหาเงินเข้ากระเป๋า
ของคุมองนั้นใช่ย่อย ซึ่งรายได้หลักจะมาจากการขายแฟรนไชส์ ด้วยการเก็บค่า Franchise Fee (ค่าแรกเข้า) และ Royalty Fee ในทุกเดือนตามจำนวนนักเรียนที่จ่ายเงินเป็นค่าเรียนให้กับคุมองเป็นรายเดือนไป ซึ่งถ้าผมจำไม่ผิด
คุมองจะเก็บค่าเรียนเดือนละ 1,500-1,600 บาท
ตามระดับชั้นการศึกษาของผู้เรียน
ในยุคที่ตลาดแฟรนไชส์เทน้ำหนักมาที่ร้านอาหาร, ร้านกาแฟ, ของหวานและเบเกอรี่
ซึ่งห้ำหั่นกันสุดฤทธิ์สุดเดช ผมจึงอยากให้
หันมามองธุรกิจอื่นที่ไม่ต้องสต๊อกสินค้าหรือ
เป็นแบบซื้อมาขายไปบ้าง
การทำแฟรนไชส์แบบคุมองมีแนวทางเฉพาะตัว
คือวิธีการสอนคำนวณที่ไม่เหมือนใคร
ทำให้ผู้เรียนทุกรุ่นเริ่มปากต่อปาก
ซึ่งเรารู้ดีกันอยู่แล้วว่า การตลาดแบบปากต่อปากนั้นสุดแสนคลาสสิกและได้ผลขนาดไหน
สิ่งที่คุมองสอนผู้เรียนทุกรุ่นคือ
“ไม่ต้องแข่งกับคนอื่น แต่แข่งกับตัวเอง”
และธุรกิจของเราในวันนี้ล่ะครับ
แข่งกับตัวเองบ้างหรือไม่ หรือได้แต่วิเคราะห์
SWOT แบบรู้แต่เขา แต่ไม่เคยรู้เราเลยสักนิด
เร่งพินิจพิเคราะห์ด่วนนะครับ
ขอบคุณครับ
ธนบรรณ สัมมาชีพ
ภาพจาก therichmustknow.com