เมื่อปลายปี 2556 ถ้ายังจำกันได้
กับเหตุการณ์กรณีพิพาทสะท้อนวงการลิขสิทธิ์ไทยเมื่อร้านกาแฟระดับโลก ”สตาร์บัคส์” ได้ฟ้องร้องกาแฟรถเข็นเจ้าหนึ่งที่ใช้ชื่อและโลโก้คล้าย ๆ กัน
เหตุการณ์นี้ช่วยกระตุ้นให้เห็นว่า สังคมมองเรื่องนี้อย่างไร
1. ด้านของลิขสิทธิ์ที่เจ้าของแบรนด์ควรปกป้องรักษา
2. มุมน่าเห็นใจของผู้ประกอบการรายเล็ก
ประเด็นคือ จะหาจุดตัดสายกลางอย่างไรให้เกิดความยุติธรรมขึ้นทั้ง 2 ฝ่าย
มุมมองจากผู้ประกอบการรายย่อยนั้นได้เล่าว่า เขาเองไม่น่าผิดเพราะกรณีของเขาไม่น่าจะทำให้แบรนด์ใหญ่ต้องเสียภาพลักษณ์
และที่สำคัญมันเป็นฐานลูกค้าคนละกลุ่มโดยสิ้นเชิง
แล้วตัวคุณล่ะครับ มองอย่างไร?
ลองจินตนาการเหตุการณ์อีกอย่าง คล้าย ๆ กัน
หากวันหนึ่งธุรกิจที่คุณทำไปได้ดี จนจะเริ่มทำระบบแฟรนไชส์
แต่โดนมือดี ฉวยโอกาสนำโลโก้ของคุณไปอ้างหากิน ที่เจ็บใจกว่าคือมือดีรายนั้นได้ไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไปก่อนหน้าคุณทั้งในประเทศและต่างประเทศเรียบร้อยแล้ว
เรื่องฐานลูกค้าโดนเจาะรวมถึงเสียเหลี่ยมเรื่องลิขสิทธิ์
แบบนี้น้ำตาตกในแน่นอนเพราะความไม่รอบคอบของเราเอง
สิ่งที่ควรรู้เรื่องแบรนด์เพิ่มเติมนั้นคือ การที่จดทะเบียนบริษัทและโดเมนเนมไว้แล้วไม่ได้ช่วยอะไร และไม่ว่าคุณจะสร้างแบรนด์ไว้เข้มแข็ง มีมูลค่าเพียงใดนั่นยังไม่เพียงพอ หากอยากให้กฎหมายคุ้มครองต้องจดทะเบียนการค้าเท่านั้น
ผู้ที่ให้ความกระจ่างและเป็นหน่วยงานที่ดูแลด้านนี้โดยตรง
คือกรมทรัพย์สินทางปัญญา (http://www.ipthailand.go.th/)
ได้ให้ความหมายเครื่องหมายการค้าไว้ดังนี้
“เครื่องหมายการค้า” คือ เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์หรือตราที่ใช้กับสินค้าหรือบริการ ซึ่งเครื่องหมายที่ให้ความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2543 และพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2559
มี 4 ประเภท ดังต่อไปนี้
1.เครื่องหมายการค้า(Trade Mark)
คือ เครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้าเพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น เช่น บรีส,มาม่า,กระทิงแดง เป็นต้น
2.เครื่องหมายบริการ(Service Mark)
คือ เครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับบริการ เพื่อแสดงว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับบริการที่ใช้เครื่องหมายบริการของบุคคลอื่น เช่น เครื่องหมายของสายการบิน,ธนาคาร โรงแรม เป็นต้น
3. เครื่องหมายรับรอง(Certification Mark)
คือ เครื่องหมายที่เจ้าของเครื่องหมายรับรองหรือจะใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการของบุคคลอื่นเพื่อเป็นการรับรองคุณภาพของสินค้า หรือบริการนั้น เช่น เชลล์ชวนชิม,แม่ช้อยนางรำ,ฮาลาล(HALAL) เป็นต้น
4. เครื่องหมายร่วม(Collective Mark)
คือเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการที่ใช้โดยบริษัทหรือวิสาหกิจในกลุ่มเดียวกัน หรือโดยสมาชิกของสมาคม กลุ่มบุคคลหรือองค์กรอื่นใดของรัฐหรือเอกชน เช่น ตราช้างของบริษัทปูน ซิเมนต์ไทยจำกัด เป็นต้น
ขั้นตอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของประเทศไทย
เรื่องลิขสิทธิ์นั้นไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ
หากขายแฟรนไชส์ด้วยความประมาท รีบขายโดยไม่จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเสียก่อน
วันดี คืนดี
แฟรนไชส์ซีของคุณเองนั่นแหล่ะที่อาจลุกขึ้นมาอ้างสิทธิ์เป็นเจ้าของเพราะได้แอบไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่คุณปั้นมากับมือ
ส่วนเจ้าของตัวจริงได้แต่นั่งมองตา ป ริ บ ๆ
จากใจเพจ #ระบบแฟรนไชส์#ง่ายนิดเดียว
======
สนใจเรียนคอร์สออนไลน์
“พื้นฐานแน่น แฟรนไชส์ปัง”
เหมาะสำหรับท่านที่อยากเพิ่มสาขา
ด้วยระบบแฟรนไชส์
คลิกที่
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=2811749469050069&id=2158094987748857
======
ทุกท่านสามารถติดตาม…
www.2bfranchisedd.com
“นำเสนอปรัชญาชีวิต สร้างแรงผลักดัน
แรงบันดาลใจในการทำงานให้กับคนทำงาน
พร้อมให้คำแนะนำสำหรับผู้ประกอบการ
ที่สนใจขยายสาขาด้วยระบบแฟรนไชส์
อย่างจริงจัง”
ขอบคุณครับ
ธนบรรณ สัมมาชีพ
เครดิตภาพจาก
http://www.ipthailand.go.th/th/trademark-005.html
ยังมีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าอีกมากมายที่เว็บไซต์หลักของกรมทรัพย์สินทางปัญญา http://www.ipthailand.go.th/