ผมคงไม่ตอบแบบยียวนประสาทว่า
“เป็นเพราะชาติที่แล้วคุณไปโกงเขามา
ชาตินี้เขาจึงมาแก้แค้น”
แม้ว่าในใจส่วนลึกจะมีแนวคิดแบบนั้นผุดขึ้นมา
และถ้าผู้อ่านคิดเหมือนที่ผมคิดจริง
คงไม่ลงทุนคว้าหนังสือเล่มนี้มาเป็นเจ้าของ
แต่คงไปแก้กรรม
ขออโหสิกรรมเจ้ากรรมนายเวรแทน
“ที่เราโดนทุจริตก็เพราะไว้ใจคนอื่นมากเกินไป”
ถ้าในแง่ธุรกิจ คือ ใช้ความรู้สึกเป็นตัวชี้วัด
แทนที่จะใช้ความถูกต้อง
ที่มาจากการตรวจสอบ 100%
บทที่ผ่านมาทำให้เห็นว่าพิษจากการไว้ใจใครมากเกินไป
ย่อมไม่เกิดผลดี
ไม่ได้บอกว่าต้องไปคอยมองคนอื่นในมุมลบตลอดนะ
แต่การที่คนหลาย ๆ คนมาร่วมงานกันโดยไม่มีระบบตรวจสอบ
มักจะนำมาซึ่งปัญหาอยู่เนือง ๆ
เมื่อครั้งผมทำธุรกิจ ตอนนั้นประมาณปี 2559 ยอดขายเฉลี่ย
อยู่ที่ประมาณ 10 ล้านบาทต่อเดือน
สินค้ามีราคาเฉลี่ยชิ้นละ 1 หมื่นบาท
ผมจะมีรายการเงินเข้าอยู่ที่ประมาณ 1 พันรายการต่อเดือน
ความผิดพลาดเกิดขึ้นเมื่อรายการเงินเข้ามันเกิดไม่ครบ
ไม่สามารถกระทบยอดกับในระบบรับเงินได้
ลูกค้าไม่ได้จ่ายเงินเราด้วยวิธีการเดียว เช่น
-จ่ายเงินสด
-โอนเข้าบัญชี
-รูดบัตรเครดิต
-ผ่อนอิออน เฟิร์สชอยส์
-จ่ายเป็นเช็ค
ฯ
เมื่อช่องทางหรือวิธีการชำระเงินมันหลากหลายซะขนาดนี้
หากผู้ตรวจสอบไม่ละเอียดหรือชั่วโมงบินสูงพอ ก็จะตรวจสอบผิดพลาด ตกหล่น เงินหายระหว่างทาง
และเหตุการณ์มันก็เป็นเช่นนั้นจริง ๆ เมื่อพนักงานที่ทุจริต
ได้ลงมือสับขาหลอก เม้มเงินเข้ากระเป๋าตัวเองอย่างไม่ละอายใจ
รายการเงินเข้าที่ไม่ตรงความเป็นจริงแค่ 1-2 รายการ
อาจเป็นยอดแค่หลักสิบ หลักร้อย หรือหลักหมื่น ใครจะไปรู้
แต่ที่แน่ ๆ มันเงินเราล้วน ๆ
จะว่าไปเรื่องมันยาว…และไม่ต้องห่วงนะ
ผมได้เขียนวิธีจับตาจอมโกงพวกนี้ไว้เรียบร้อยผ่านเนื้อหาในเล่ม
ค่อย ๆ พลิกอ่านไปก็จะจินตนาการทันเกมส์พวกมิจฉาชีพแน่ ๆ
ผมมีข้อมูล “ความเคยชินต่อการทุจริตในสังคมไทย”
(จากผลการสำรวจของ ABAC และ NIDA)
1. คนไทย 1 ใน 6 ยอมรับว่า ตนเองเคยรับสินบนและเคยมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชัน
2. 87.6% เคยลัดคิวเพื่อซื้อสินค้าหรือใช้บริการต่าง ๆ
3. 80.2% เคยให้สินบน สินน้ำใจตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการเพื่ออำนวยความสะดวก
4. 81.2% เคยมีพฤติกรรมคอร์รัปชันในขณะปฏิบัติงาน
5. 83.6% เคยคอร์รัปชั่นทรัพย์สินของสำนักงาน
6. 92.4% เคยลอกการบ้านหรือรายงานเพื่อน
7. 54.7% เคยขับรถผิดกฎจราจร
8. 31.39% ยอมจ่ายเงินหรือถูกรีดไถจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ
9. 26.87% เคยรับเงินเพื่อลงคะแนนเสียงให้กับนักการเมือง
10. 18.19% เคยใช้ระบบอุปถัมภ์/ให้สิทธิพิเศษแก่เครือญาติ
11. 13.81% เคยให้ของขวัญหรือติดสินบนเจ้าหน้าที่ของรัฐ
12. 13.24% เคยนำวัสดุ,อุปกรณ์ในที่ทำงานไปใช้ส่วนตัว
13. 12.60% เคยฝากบุตรหลานเข้าโรงเรียน
สถิติมาแบบนี้ก็หนักใจ
แต่หวังไว้ในใจ 1 ในนั้นต้องไม่ใช่คุณผู้อ่านของผม
คำกล่าวติดตลก
“ทุจริตเป็นเรื่องปกติ
แต่ที่ผิดปกติคือพวกที่โดนจับได้”
มันตลกร้ายนะ…. อย่ามองมันเป็นเรื่องปกติเลย ได้โปรด!!!
ขอบคุณครับ
ธนบรรณ สัมมาชีพ