งบประมาณการถือเป็นปราการด่านแรก
สำหรับผู้ที่คิดจะลงทุนทำแฟรนไชส์
เพราะนอกจากต้องตอบคำถามตัวเองให้ได้แล้ว
เรายังต้องนำเสนอโครงการกับผู้ถือหุ้น
สมาชิกในครอบครัวหรือแม้กระทั่งสถาบันการเงิน
ในกรณีที่เราต้องไปขอทำเรื่องกู้ยืมเงินมาลงทุน
แฟรนไชส์นี้จุดคุ้มทุนอยู่ที่เท่าไหร่?
ต้องขายของทำยอดเดือนละกี่บาท?
กำไรควรจะเป็นร้อยละเท่าไหร่เมื่อเทียบกับยอดขาย?
ถ้าขาดทุนเรื่อยๆ จะอยู่ได้อีกกี่วัน กี่เดือน กี่ปี?
ระยะเวลาคืนทุนอยู่ที่กี่เดือน?
หากเราสามารถตอบโจทย์ปัญหาธุรกิจเหล่านี้ได้
เท่ากับได้นำเสนอผลงานที่เราภาคภูมิใจอย่างเป็น
รูปธรรม
=====
ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้งบประมาณการของเราแม่นยำขึ้นคือตัวเลขรายรับ รายจ่าย
หากเรามีตัวเลขจริง เชื่อถือได้
ไม่ว่าจากการวิจัยก็ดี หรือจากข้อมูลหน้างาน
จริงๆ ก็ดี
ตัวเลขชุดที่นำมาใช้ต้องเป็นข้อมูลคุณภาพ
มีหลักฐาน มีที่มา ครบถ้วน น่าเชื่อถือ โปร่งใส
เช่น การกรอกค่าเช่าอาคารหากกรอกไม่ครบ
ลืมกรอกไป 1-2 เดือน ก็ทำให้ตัวเลขคลาดเคลื่อน
หรือที่มองข้ามกันบ่อย ๆ เช่น ค่าไฟฟ้า
ค่าอินเตอร์เนต เมื่อรวมกันหลาย ๆ บิลเข้า
ก็ประมาณการคลาดเคลื่อนไม่สะท้อนผลการ
ดำเนินงาน
เมื่อเจ้าของแฟรนไชส์ มีความรู้เรื่องบัญชีใน
ระดับที่ดีควรถ่ายทอด จัดคอร์ส อบรมให้กับ
แฟรนไชส์ซี
เพราะเมื่อเราได้ทำธุรกิจใด ๆ ก็ตาม
หากไม่พูดคุยภาษาเดียวกัน (ภาษาบัญชี)
จะส่งผลให้วิเคราะห์กิจการได้ลำบาก
จึงควรส่งเสริมให้เรียนเพิ่มเติม
เพื่อสามารถปิดงบการเงินเบื้องต้นได้
เช่น งบกำไรขาดทุน , งบดุลหรืองบแสดงฐานะทางการเงิน และนำไปสู่อัตราส่วนทางการเงิน
ในอันดับต่อ ๆ ไป
ขอบคุณครับ
ธนบรรณ สัมมาชีพ