มารู้จักระบบแฟรนไชส์แบบง่าย ๆ กันเถอะ

มารู้จักระบบแฟรนไชส์แบบง่าย ๆ กันเถอะ
มารู้จักระบบแฟรนไชส์แบบง่าย ๆ กันเถอะ

“ผู้พันแซนเดอร์ ยังไม่ตาย”
.
.
ได้ยินแบบนี้อึ้งครับ ตกลงท่านยังมีชีวิตอยู่ใช่หรือไม่?

ตอบ : ท่านเสียชีวิตไปตั้งนานแล้ว แต่ชื่อเสียงของ KFC
ไก่ย่างสูตรเด็ดแห่งเมืองเคนตั๊กกี้ ยังคงได้รับการกล่าวขาน
ประหนึ่งว่า ผู้พันแซนเดอร์ยังมีชีวิตอยู่

และแน่นอนว่าตัวสะพานเชื่อมข้ามกาลเวลาที่สำคัญนั้นคือ “ระบบแฟรนไชส์”

เมื่อคำว่า แฟรนไชส์ นั้นมีมานานแล้ว หนังสือเล่มนี้ถือโอกาสขยายความให้คม ชัด ลึก โดยเรียบเรียงเนื้อหาให้อ่านง่ายต่อผู้อ่านทุกคน

ก่อนอื่นขอแนะนำคำศัพท์ง่าย ๆ 2 คำ ที่ต้องได้ใช้สื่อสารกันตลอด และเพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน คือ
“แฟรนไชส์ซอร์”หมายถึง ผู้ขายแฟรนไชส์
“แฟรนไชส์ซี” หมายถึง ผู้ซื้อแฟรนไชส์
แฟรนไชส์นั้นเป็นกลยุทธ์ขยายสาขาเพื่อครองตลาดของธุรกิจหนึ่ง
ผ่านแฟรนไชส์ซีหรือผู้ซื้อแฟรนไชส์ภายใต้เครื่องหมายการค้าเดียวกัน

รูปแบบการบริหารจัดการต้องเป็นแบบเดียวกันหรือเป็นไปตามที่
แฟรนไชส์ซอร์กำหนดเท่านั้น

การบริหารงานแบบผู้ประกอบการและผู้สร้างแฟรนไชส์มีข้อแตกต่างกันค่อนข้างมาก ผู้ประกอบการดูแลให้ธุรกิจของตนเองมีผลกำไรเท่านั้น แต่ระดับแฟรนไชส์นั้นเราต้องช่วยบริหารให้แฟรนไชส์ซีมีผลกำไรให้ถ้วนหน้าเพื่อสร้างความเข้มแข็งในระยะยาว

ผู้ประกอบการอาจมองเห็นว่าการขยายสาขาจำนวนมากเป็นอุปสรรคเพราะเพิ่มภาระหลายอย่าง จนไปถึงควบคุมมาตรฐานหรือคุณภาพไม่ได้และหากเป็นเช่นนั้นจริง คงต้องปิดตัวลง

ผู้สร้างแฟรนไชส์กลับมองว่า ก็สร้างมาตรฐานให้ได้โดยทำคู่มือ
จัดอบรมขึ้นมา มีการเรียน การสอนที่เข้มข้น แบบนี้ไม่ว่าจะสร้างกี่สาขาก็เอาอยู่
กรณีศึกษาเมื่อค.ศ. 1961(พ.ศ.2504)
หลังจากความเห็นไม่ตรงกัน กล่าวคือ 2 พี่น้อง Mcdonald ไม่ได้ต้องการจำนวนสาขามากมาย ส่วนแนวทางของ Ray Kroc(หุ้นส่วนที่เข้ามาทีหลัง ไม่ได้คิดค้นสูตรแฮมเบอร์เกอร์ แต่มาเพื่อทำระบบแฟรนไชส์โดยเฉพาะ) นั้นชัดเจนในการเพิ่มจำนวนสาขาตั้งแต่เริ่มต้นแล้ว

Ray Kroc จึงต้องตัดสินใจซื้อสิทธิ์กิจการจาก 2 พี่น้อง Mcdonald
เพื่อสร้างแฟรนไชส์ให้ไปไกลทั่วโลกต่อไป

เราลองมามองดูตลาดแฟรนไชส์ที่ใกล้ตัวแถวบ้านเรา มีทั้งของไทยแท้และข้ามชาติมา หลากหลายประเภทดังนี้

1. แฟรนไชส์ประเภทอาหาร เช่น
ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว,สเต๊กลุงใหญ่,ไก่ย่างห้าดาว,KFC เป็นต้น

2. แฟรนไชส์ประเภทเครื่องดื่มและไอศครีม เช่น
คาเฟ่อเมซอน,สเวนเซ่นส์,กาแฟสดชาวดอย เป็นต้น

3. แฟรนไชส์ประเภทการศึกษา เช่น
คุมอง,สถาบันกวดวิชาแม๊ค,โรงเรียนดนตรียามาฮ่า เป็นต้น
ในปัจจุบันแฟรนไชส์นี้ยังมีอีกหลากหลายประเภท แต่ขอยกตัวอย่างแค่ 3 ประเภทใหญ่ ๆ เท่านั้น ซึ่งผู้อ่านคงเคยคุ้นตาชื่อแฟรนไชส์เหล่านี้เป็นอย่างดี

สิ่งที่อยากฝากทุกท่านคือ หากมีโอกาสได้ไปใช้บริการแฟรนไชส์
ชื่อดังต่าง ๆ ในครั้งต่อ ๆ ไปให้ลองสังเกตระบบการทำงานของพวกเขาโดยฝึกจดข้อดี ข้อเสียไว้เพื่อมาประยุกต์ใช้กับแฟรนไชส์ของเรา เช่น การต้อนรับลูกค้าเป็นอย่างไร,ขั้นตอนตั้งแต่เปิดจนปิดการขายเป็นอย่างไร,การตกแต่งร้านน่าจะใช้งบประมาณเท่าไหร่,ช่วงที่ลูกค้าเยอะเขาใช้พนักงานกี่คน ช่วงที่ลูกค้าน้อยใช้พนักงานกี่คน

เมื่อเราเริ่มสะสมข้อมูลมากขึ้นก็จะช่วยให้การตัดสินใจของเรา
แม่นยำขึ้น แบบนี้แฟรนไชส์ที่สร้างก็มีแนวโน้มไปได้เร็วกว่าปกติ

======

ทุกท่านสามารถติดตาม…
www.2bfranchisedd.com

“นำเสนอปรัชญาชีวิต สร้างแรงผลักดัน
แรงบันดาลใจในการทำงานให้กับคนทำงาน
พร้อมให้คำแนะนำสำหรับผู้ประกอบการ
ที่สนใจขยายสาขาด้วยระบบแฟรนไชส์
อย่างจริงจัง”

ขอบคุณครับ
ธนบรรณ สัมมาชีพ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *