ทุกธุรกิจที่ขยายสาขาในประเทศและข้ามประเทศ ล้วนต้องมีสาขาแรก หรือร้านต้นแบบ แฟรนไชส์ที่พิสูจน์ความสำเร็จได้
ในขณะเดียวกันก็กล่าวได้ว่าเบื้องหลังความสำเร็จของธุรกิจเหล่านั้นย่อมมีบาดแผลที่เรียกว่าความล้มเหลว
เป็นบทเรียนราคาแพงอยู่เช่นกัน
บทเรียนราคาแพงเหล่านั้นแฟรนไชส์ซอร์ได้ทำการเรียบเรียง
ประสบการณ์ ถ่ายทอดให้กับแฟรนไชส์ซีเป็นบทเรียนราคาถูก
ไม่ต้องมาผิดซ้ำ ๆ สามารถนำสูตรสำเร็จนี้ไปบริหารต่อได้เลย
ร้านต้นแบบสำหรับนำเสนอขายแฟรนไชส์อาจสร้างขึ้นมาใหม่
ด้วยเหตุผลที่ดีมากมาย เช่น
ข้อดีจากมุมมองภายใน
1. เพื่อพิสูจน์ให้แฟรนไชส์ซีเห็นว่า ร้านของเรารบชนะในทุกสนาม
เช่น ร้านแบบเปิดบนห้าง , ร้านแบบเปิดบนดิน(ทำเลที่ไม่ใช่บนห้าง),แบบคีออส แบบรถเข็นก็ยังมีผลกำไรงาม
ซึ่งแต่ละรูปแบบการลงทุนก็ยิ่งมีสีสันแตกต่างกันออกไป
ความหลากหลายจะทำให้เป็นจุดแข็งในการเสนอ
2. พิสูจน์ระบบการทำงาน
แน่นอนว่าแฟรนไชส์เป็นการทำงานแบบระบบ
ไม่ได้อาศัยความสามารถเฉพาะตัวของใครคนใดคนหนึ่งมากเกินไป
แม้ว่าพนักงานจะเวียนเข้า ออกแต่ระบบยังคงอยู่เสมอ
และตัวระบบการทำงานนั้นยังต้องพัฒนาให้เข้ากับยุคสมัยพร้อมกับมีเสถียรภาพสูงสุดอยู่ตลอด
บางธุรกิจที่ใช้ไอทีเข้ามาบริหารระบบ เชื่อมต่อข้อมูลเรียลไทม์
ต้องพึงระวังสถานการณ์อินเตอร์เน็ตล่ม และหาวิธีรองรับการทำงานให้ดี ไม่ให้กระทบปลายทางคือลูกค้า
ระบบที่ดีต้องสามารถบริหารได้โดยที่เจ้าของไม่ต้องลงมือเองทั้งวัน
ดังนั้นจุดที่ต้องโฟกัสคือความโปร่งใส เข้าตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน
เช่น ทั้งวันยกให้เป็นหน้าที่ของผู้จัดการร้าน ส่วนเจ้าของแค่เข้ามาตรวจสอบสิ้นวันว่าเป็นไปตามกำหนดหรือไม่
เมื่อทำได้ทุกวัน ร้านเริ่มมีกำไรแฟรนไชส์ซีหน้าเดิมก็อยากขยายสาขาเพิ่ม หน้าใหม่ก็อยากร่วมลงทุนไม่ขาดสาย
ข้อดีจากมุมมองภายนอก
1. ดูเป็นแบรนด์ที่มีมูลค่าและรูปแบบธุรกิจที่น่าร่วมลงทุน
ร้านที่มีเอกลักษณ์หรือข้อแตกต่างจากคู่แข่งจะดึงดูด
– แฟรนไชส์ซีที่มีมุมมอง แนวคิดการทำร้านเหมือนกันได้มาร่วมงานกันขยายอุดมการณ์
– ผู้บริโภคให้เข้ามาใช้บริการ แล้วบอกต่อถึงประสบการณ์น่าประทับใจ
จงสร้างขึ้นมา อย่าให้มันเป็นแค่ภาพสวย ๆ ในหน้าอินเตอร์เน็ต
แต่ร้านจริง ๆ กลับไม่มี แบบนี้ผู้บริโภคผิดหวังดังคำกล่าว
“สิบปากว่า ไม่เท่าตาเห็น
สิบตาเห็น ไม่เท่ามือคลำ”
ตัวอย่างการคิดทำร้านต้นแบบกับธุรกิจแฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อแห่งหนึ่ง ชื่อว่า “30บาท เครป่ะ”
1. วัตถุประสงค์
– เป็นร้านสะดวกซื้อนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศจีน จำหน่ายในราคาถูก เฉลี่ยชิ้นละ 30 บาท
– ต้องการเปิดในพื้นที่ผู้คนพลุกพล่าน มีอพาร์ทเมนต์ คอนโด หอพัก บ้านพักอาศัยจำนวนมากๆ
– กลุ่มลูกค้าคือ ประชาชนที่มีบ้านพักอาศัยในรัศมี 1 กิโลเมตร
2. คัดเลือกผู้จัดการร้าน
ผู้จัดการร้านถือเป็นสิ่งจำเป็น เพราะเขาเหล่านี้จะมาดูแลธุรกิจหรือผลประโยชน์แทนเรา ลองหลับตานึกภาพวันที่เราขยายได้ถึง 5 สาขาแล้วกลับต้องมานั่งทำงานเอง ชีวิตคงไม่ต้องทำอะไรนอกจากนั่งแก้ปัญหาเป็นรายวัน
แต่เมื่อลองใช้ระบบผู้จัดการ เราจะมีเวลาครีเอทงานการตลาด สร้างยอดขายได้มากขึ้น
และที่สำคัญมันช่วยการันตีได้ว่า ระบบที่เราสร้างขึ้นมานั้นสามารถบริหารงานโดยคนนอกได้ 100% ไม่ใช่คิดไปเองฝ่ายเดียว
แฟรนไชส์ “30บาท เฮงๆ” จึงใช้ระบบผู้จัดการร้าน โดยมีเจ้าของกิจการหรือผู้ลงทุนได้ตรวจสอบ ดูแลอย่างใกล้ชิด
3. จุดขาย
เนื่องจากร้านค้าปลีกเป็นตลาด Red Ocean (คู่แข่งเยอะมาก)
แฟรนไชส์ “30บาท เฮงๆ” จึงได้ฉีกแนวจากร้านขายของธรรมดาให้เป็นมีกลิ่นอายจากประเทศจีน โดยดีไซน์การแต่งร้านเป็นสีแดงให้เข้ากับความเชื่อที่ว่าจีนแดงขายของราคาถูก
นอกจากนั้นยังให้พนักงานใส่ชุดจีนสีแดงทั้งร้านเพื่อรักษามาตรฐาน
และที่สำคัญสุด ๆ ที่ร้านจะมีมุมถ่ายรูป Selfie กับตุ๊กตาหมีแพนด้ายักษ์ที่เป็นสัญลักษณ์ของชาวจีน ให้ลูกค้าได้เก็บภาพเป็นที่ระลึก
4. ทำเล
ด้วยราคาสินค้าที่ไม่แพงมาก ลูกค้ามาซื้อปริมาณเยอะ จึงกำหนดทำเลเป็นเปิดบนดิน(ไม่ใช่บนห้าง) และที่สำคัญต้องเป็นแหล่งผู้คนพลุกพล่าน และมีบ้านพัก ที่อยู่อาศัยหนาแน่น
และที่สำคัญต้องมีที่จอดรถยนต์
5. ระบบปฏิบัติงาน
เพื่อที่จะให้ได้ตัวเลขคุณภาพ ไปวิเคราะห์การทำงานให้เกิดประสิทธิภาพที่สุดในการบริหารร้าน โปรแกรมที่ดูแลระบบนั้นต้องเก็บข้อมูลได้แม่นยำ เช่น ยอดขายรายวัน รายเดือน ,สต๊อกต้นงวด ปลายงวด,ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ฯลฯ
นอกจากนั้นคู่มือปฏิบัติงานที่สมบูรณ์แล้ว จะได้นำมาใช้ในร้านต้นแบบหากทดลองใช้แล้วติดปัญหาอะไร ก็สามารถจด บันทึกไว้นำมาหาวิธีปรับปรุงแก้ไขได้
แฟรนไชส์ “30บาท เฮงๆ” ได้มีโปรแกรมสำเร็จรูปในการขายสินค้าและระบบบัญชี โดยหาซื้อได้จากบริษัทที่รับทำและพัฒนาระบบชั้นนำทั่วไป
ท้ายนี้สิ่งที่สำคัญไม่แพ้ข้อใดเลย คือระยะเวลาในการดำเนินกิจการ
ของร้านต้นแบบ อย่างน้อยที่สุดไม่ควรต่ำกว่า 1 ปี เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าสามารถยืนระยะยาวได้
แฟรนไชส์ซอร์ควรเก็บตัวเลขให้ละเอียดว่าจากยอดขายและกำไร
ของร้านต้นแบบนั้น ใช้หล่อเลี้ยงตัวเองได้หรือไม่
สิ้นปีหรือแต่ละไตรมาศมีกำไรสะสมเท่าไหร่
ถ้ามีกำไรเยอะ แบบนี้พร้อมขายแล้ว
แต่หากตรงกันข้าม คือ หากำไรไม่เจอ ยังต้องระดมเงินทุนอัดฉีดเข้าไปเรื่อย ๆ แถมเครื่องไม้ เครื่องมือหากินก็เสื่อมสภาพลงทุกวัน
แบบนี้ควรหยุด แก้ปัญหาให้ถูกจุด ก่อนเดินหน้าต่อไปครับ
จากใจเพจ #ระบบแฟรนไชส์#ง่ายนิดเดียว
======
สนใจเรียนคอร์สออนไลน์
“พื้นฐานแน่น แฟรนไชส์ปัง”
เหมาะสำหรับท่านที่อยากเพิ่มสาขา
ด้วยระบบแฟรนไชส์
คลิกที่
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=2811749469050069&id=2158094987748857
======
ทุกท่านสามารถติดตาม…
www.2bfranchisedd.com
“นำเสนอปรัชญาชีวิต สร้างแรงผลักดัน
แรงบันดาลใจในการทำงานให้กับคนทำงาน
พร้อมให้คำแนะนำสำหรับผู้ประกอบการ
ที่สนใจขยายสาขาด้วยระบบแฟรนไชส์
อย่างจริงจัง”
ขอบคุณครับ
ธนบรรณ สัมมาชีพ