อย่าเพิ่งเยอะ!

#อย่าเยอะ
ฟังดูเหมือนโดนจิก
แต่ความจริงคือ เยอะได้ถ้ามีความพร้อมครับ

เมื่อทำแฟรนไชส์ก็ตั้งเป้าขยายสาขาให้ได้เยอะ ๆ
เพราะตำราบอกว่าหัวใจของมันคือ
Economies of scale ว่าด้วยการประหยัดจากขนาด
และเนื่องด้วยส่วนลึกก็รู้อยู่แล้วว่ายิ่งซื้อเยอะ
ยิ่งกุมอำนาจต่อรองไว้ในมือ

กูรูแฟรนไชส์เมืองไทยท่านหนึ่งกล่าวว่า
ถ้าต้องการขยายสาขาแค่ประมาณ 10 สาขา
ให้เปิดขยายเองดีกว่า อย่าไปคิดทำแฟรนไชส์ให้ปวดหัวเลย
นั่นเพราะว่าจำนวนสาขาในหลักสิบต้น ๆ นั้น
ยังไม่ถือว่ามากพอในการทำ Economies of scale

หากนึกภาพไม่ออก ให้ลองคิดตามแบบนี้ครับ
ร้านแฟรนไชส์จำหน่ายนาฬิกาข้อมือแห่งหนึ่ง
สั่งสินค้า 1 ชิ้น ราคา 5,000 บาท
รวมค่าขนส่งเที่ยวละ 100 บาท
ต้นทุนคือ 5,100 บาท

หากมี 100 สาขา

เมื่อซื้อ 100 ชิ้น ทางโรงงานลดราคาให้เหลือแค่
ราคาชิ้นละ 4,950 บาท แถมให้เครดิตอีก 30 วัน
ต้นทุนคือ 4,950+1= 4,951 บาท
(ค่าขนส่งเที่ยวละ 100 บาท เหมือนเดิม
เพราะกล่องไม่ได้ใหญ่มาก
ค่าขนส่งคือ 100/100= 1 บาทต่อกล่อง)

ต่างกันกับกรณีที่มีสาขาเดียวมากมั้ยล่ะครับ ?

แต่ประเด็นวันนี้ผมขอเล่าถึงปัญหาที่เกิด
หลังจากที่มีจำนวนสาขาเยอะ ๆ แล้วส่งผลเสีย
หรือทำให้ขาดทุนจนต้องตัดสินใอย่างใดอย่างหนึ่ง

เมษายนปี 2017
ผมเห็นวิกฤติปิดตัวครั้งใหญ่ของ “ธุรกิจค้าปลีก”
หรือ Chain Retailers ในอเมริกา
รวม ๆ กันแล้วกว่า 3,500 สาขา
ซึ่งข้อมูลจาก https://www.brandbuffet.in.th/
ได้กล่าวว่าแบรนด์ดัง ๆ เหล่านั้น เช่น
Payless ShoeSource , The Limited , Wet Seal
BCBG , Bebe , Guess , Abercrombie & Fitch
American Apparel , Crocs , Sears , Kmart
Macy’s , JCPenney

ทั้งนี้ก็เพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ
คือเน้นผลกำไรในระยะยาว
ซึ่งทางบ้านเราแม้กระทั่งธนาคารยังต้องปิดสาขาเป็นจำนวนมาก
เพื่อลดต้นทุน เตรียมพร้อมและลงแข่งขันกันในช่องทางใหม่
นั่นคือ ดิจิตอลแพลทฟอร์ม หรือโมบายแบงค์กิ้ง
ที่กำลังเป็นเครื่องมือตัวใหม่ที่ทรงประสิทธิภาพ

ผมขอจบที่เรื่องเกี่ยวกับวงการแฟรนไชส์ของเรา
นั่นคือ Subway เจ้าของสถิติจำนวนสาขาที่มากที่สุด
คือ 26,000 สาขาในสหรัฐอเมริกา
ส่วนทั่วโลกมีสาขามากถึง 43,700 แห่ง
ตอนนี้กำลังประสบปัญหาจนต้องประกาศปิดสาขาลง
กว่า 500 แห่งทั่วทวีปอเมริกาเหนือ
(ข้อมูลจาก https://brandinside.asia/)

จากที่เราคุยกันเรื่อง Economies of scale
หรือการประหยัดจากขนาดมาตลอด
แต่ Suzanne Greco ดำรงตำแหน่ง CEO ของ Subway
ได้กล่าวว่า “จำนวนร้านไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่าง”

นั่นเพราะด้วยปัญหาลึก ๆ ของ Subway นั้น
คือการบริหารที่ด้อยประสิทธิภาพเมื่อเทียบกับ
แฟรนไชส์ข้ามชาติอื่นโดยเฉพาะ McDonald

ถือเป็นโจทย์หินที่ต้องฝ่าให้ได้
เพราะเท่าที่ผมทราบข่าวมานั้น
รายได้ยอดขายทั่วสหรัฐอเมริกาของ Subway พบว่า
เมื่อปี 2017 ที่ผ่านมา Subway มีรายได้ลดลง 4.4%
ในขณะที่เจ้าอื่นสามารถโตได้ทั้งยอดขายและกำไร
และนี่ถือเป็นยอดขายที่ตกต่ำครั้งใหญ่ในรอบ 50 ปี
นับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทมา

ถึงตอนนี้แล้ว
หวังว่าผู้อ่านทุกท่านคงเห็นประโยชน์และโทษจาก
จำนวนสาขาแล้วในระดับหนึ่ง
ซึ่งจะมากหรือน้อยล้วนอยู่ที่การบริหารทั้งนั้น

ขอให้ทุกท่านโชคดีครับ
ขอบคุณครับ

ธนบรรณ สัมมาชีพ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *