แนวคิดที่ระดับนักธุรกิจรุ่นใหญ่ยังคิดสวนทางกัน
แต่นั่นก็คุ้มค่ามิใช่หรือที่ระดับลูกหลานอย่างเรา
ได้นำมาใช้เป็นบทเรียนพิชิตเป้าหมายธุรกิจ
แม้ว่าเหตุการณ์นี้จะผ่านมาหลายสิบปีแล้ว
.
.
ตั้งแต่ปี คศ.1959 (พ.ศ.2502)
Ray Kroc แต่งตั้ง Harry J. Sonneborn
เป็นประธานและผู้จัดการบริหารระดับสูง
ทั้ง 2 ร่วมงานกันด้วยดีมาตลอด
แม้จะไม่ความเห็นไม่ค่อยตรงกันบ้าง
แต่ก็ตามเนื้องาน
.
.
จนปีค.ศ. 1967 (พ.ศ.2510)
เศรษฐกิจที่สหรัฐอเมริกาตกต่ำเข้าขั้นโคม่า
Harry J. Sonneborn ได้สั่งหยุดโครงการ
เปิดสาขาใหม่ จนกว่าเส้นกราฟเศรษฐกิจจะผงกหัวขึ้น
ส่วน Ray Kroc นั้นคิดเห็นแย้ง
เขากลับสั่งให้เดินหน้าเต็มพิกัดสวนกระแส
และนี่คือเชื้อให้ทั้ง Ray Kroc และ Harry J. Sonneborn ต้องหันหลังแยกทางกัน
.
.
เมื่อ Ray Kroc ครองตำแหน่งผู้อำนวยการ
และประธานกรรมการควบกัน
เขาได้สั่งรื้อฟื้นทุกโครงการที่โดนระงับไว้
ให้มีสถานะไฟเขียว ลุยต่อทันที
เขาได้ทำสวนกระแสจาก Harry J. Sonneborn และเสียงอื่น ๆ หลายคนโดยให้เหตุผลว่า
“ เศรษฐกิจกำลังแย่นี่แหล่ะ ที่พวกเราต้อง
คว้าโอกาสไว้จะรอให้ข้าวของมันขึ้นราคา
ไปก่อนเช่นนั้นหรือ
ถ้าเห็นทำเลทองแล้วน่าซื้อ ก็ต้องรีบหามาครอบครอง
รีบลงมือสร้างให้แล้วเสร็จ
เราต้องเดินนำหน้าคู่แข่ง ทำให้มันคึกคักเข้าไว้
เศรษฐกิจแบบนี้ถ้าทำให้ตัวเมืองคึกคัก
ผู้คนก็จะนึกถึงเราแน่นอน”
ยังมีข้อมูลอีกว่า Ray Kroc ได้แนะนำให้ร้านสาขาขึ้นราคาอาหารในเดือนมกราคม ซึ่งหลายคนคาดว่าอาจกระทบยอดขายในแง่ลบ
แต่ความจริงที่เหลือเชื่อคือ มันปรากฏว่า
“ยอดขายกลับเพิ่มขึ้น”
.
.
หวังว่าเรื่องราวเล่าต่อกันมาเหล่านี้จะช่วยให้เรา
กล้าคิด กล้าทำมากขึ้น
แต่ย้ำว่าต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นไปได้
ประสบการณ์นั้นสำคัญอย่างยิ่งในการทำธุรกิจ
กระบวนการของบางคนที่ใช้ได้
พอใช้กับเราอาจใช้ไม่ได้เลย
หรืออาจส่งผลดีทวีคูณ ก็เป็นไปได้
ข้อนี้ไม่มีใครล่วงรู้จนกว่าจะลอง “ลงมือทำ” ครับ
โดย ธนบรรณ สัมมาชีพ
======
พื้นที่โฆษณา
ท่านที่สนใจเรียนการทำแฟรนไชส์
“พื้นฐานแน่น แฟรนไชส์ปัง!!!”
สามารถสมัครเรียนออนไลน์ได้ที่
https://goo.gl/2yWzbc
หรือ inbox มาเลย ผมรออยู่
ขอบคุณครับ