#ตายเพราะทำแฟรนไชส์
#อ่านเพื่อเป็นอุทาหรณ์
ผู้ตายเป็นเจ้าของแฟรนไชส์ขายไอติม
มีสาขาอยู่ถึง 3 แห่ง…
น่าเสียใจมากครับ
เพื่อเป็นการให้เกียรติผู้ล่วงลับ
ผมไม่ขอเอ่ยนามก็แล้วกันว่าเป็นใคร ที่ไหน
(หากอยากทราบข้อมูลเพิ่มเติมให้ inbox
มานะครับ)
เมื่อฟังรายละเอียดแล้ว
ทราบว่าสาเหตุมาจากปัญหาหนี้สินนั่นเอง
อ้าว…ทำไมล่ะ ?
ในเมื่อขยายสาขาได้ มันก็น่าจะไปได้ด้วยดีสิ
แล้วเหตุใดจึงจบลงเช่นนี้
ผมอยากบอกว่า
ตัวกิจการอะไรก็ตามบนโลกใบนี้
มันก็เหมือนกับคนธรรมดานี่แหล่ะ
บริษัทต้องการเงินสด เหมือนคนต้องการเลือด
เมื่อขาดเงินสดก็เปรียบดังคนขาดเลือด
คือ ต้องตายแน่ ๆ แค่จะตายช้าหรือเร็ว
เมื่อกิจการขยายสาขาเพิ่มได้ก็แสดงว่ามีศักยภาพบางอย่าง
มันนำมาซึ่งยอดขาย และส่วนแบ่งทางการตลาด
และถ้ามันนำมาซึ่งผลกำไรด้วย มันก็คงสุดติ่ง กระดิ่งแมว
แต่หากมันไม่ปรากฏว่ามีกำไร
เงินในสเตทเมนท์ธนาคารหรือหลักร้อยบาท
คงพอแค่เบิกถอนออกมาซื้อมาม่ากับปลากระป๋อง
อันนี้ตายแน่ แก้เกมส์ด่วน
ผมได้มีโอกาสให้คำปรึกษากับลูกศิษย์หลายคน
ว่าหากอยากขยายสาขาให้ได้เยอะ ๆ
ต้องทำสาขาแรกให้ดีที่สุดเสียก่อน
โดยให้ความสำคัญกับระบบหน้าร้าน หลังร้านให้ดี
ระบบหน้าร้านที่ดี ควรเก็บตัวเลขยอดขายรายวัน
รายการการเปิดบิล , รายงานการจองสินค้า
รายงานการตัดสต๊อก ฯ
ควรให้ได้ตัวเลขพวกนี้เป็นอย่างน้อย
เพื่อนำไปทำงบกำไร ขาดทุนสิ้นเดือน
ระบบหลังร้าน ต้องเก็บตัวเลข เช่น ค่าใช้จ่ายรายวัน
,รายงานการรับชำระเงิน , รายงานเงินเข้า ออก
ของธนาคาร ฯ
เมื่อระบบทำให้เราเก็บตัวเลขได้ครบ
ก็ทำให้นำไปปิดงบกำไรขาดทุนได้
อีกทั้งยังช่วยตรวจสอบการทำงานให้เป็นไปอย่างมีระบบ
เมื่อครั้งที่ผมเป็นผู้จัดการเขต
ออกไปตรวจกิจการของร้านแฟรนไชส์ในต่างอำเภอ
สิ่งที่ผมต้องคุยเป็นอันดับแรก แบบจับเข่าคุยเลย
นั่นก็คือ งบกำไรขาดทุน งบดุล สเตทเมนท์ธนาคาร
ทุกอย่างต้องให้มั่นใจว่าเงินไม่ออกนอกระบบ
เชื่อมั้ยว่า… เมื่อเขากู้เงินได้
เขาต้องการซื้อทรัพย์สินเพิ่ม เช่น รถยนต์ บ้าน ฯ
ก็ควรต้องแจ้งเราก่อน เพราะเงินเหล่านี้ใช้กิจการกู้
จึงไม่ควรนำไปใช้ทำอย่างอื่น
เมื่อเงินมันไม่ออกนอกระบบ ควบคู่กับการทำบัญชีทุกวัน
มันก็แทบไม่มีอะไรต้องหนักใจ
ถ้าแม้นมีกำไรก็ทำให้กำลังใจล้นหลาม
แต่หากตรงกันข้าม
เมื่อขาดทุนก็สามารถตัดใจ หรือตัดสินใจได้ถูก
ว่าจะอยู่ หรือจะไป ขออย่างเดียว…
#อย่าตาย
ขอบคุณครับ
ธนบรรณ สัมมาชีพ