#เรื่องเล่าจากชีวิต_Distributor
ก่อนจากกันในเล่มนี้
ผมขอเล่าประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมา
จากการเป็น Distributor ของแฟรนไชส์ไอทีเบอร์หนึ่งของประเทศไทยด้วยยอดขายหมื่นล้านต่อปีมาเล่าสู่กันฟัง
โดยเนื้อหาจะเน้นไปในทางการควบคุมภายในกิจการมากกว่าการทำยอดขายหรือการตลาดนะครับ
(เนื้อหาการทำตลาดและขยายสาขาผมได้เขียนไว้อย่างละเอียดในหนังสือเล่มแรกที่เขียนแล้ว
ชื่อว่า “หนึ่งร้อยสาขาในตำราเล่มเดียว”
และยังหาอ่านได้จากบทความในเพจสอนทำ
แฟรนไชส์ ทำรายได้ร้อยเท่าในหนึ่งปี)
เมื่อคิดอยากขยายสาขารองรับยอดขายที่เติบโตต่อเนื่อง
สิ่งที่จะต้องเตรียมตัวรองรับไว้แต่เนิ่น ๆ คือระบบการตรวจสอบภายในที่เข้มแข็ง เพราะมิจฉาชีพในคราบคนดีนั้นมีเยอะซึ่งจะแฝงมาในรูปของคนนอกองค์กรบ้าง คนในองค์กรบ้าง เราจึงต้องทำหน้าที่ให้ดีที่สุดโดยการป้องกันสุดความสามารถ
เมื่อสัก 10 ปีที่แล้ว ผมเป็นผู้ประกอบการตัวเล็กรายหนึ่งอยู่ที่จ.ร้อยเอ็ด ขายสินค้าไอทีและอุปกรณ์ต่อพ่วงเดือนนึงก็ทำยอดขายประมาณไม่กี่แสน และมีรายได้จากงานบริการซ่อมแซมเครื่องอีกหลักหมื่นซึ่งพอเลี้ยงตัวเองได้เพราะไม่ต้องจ้างใคร แถมยังมีพี่ชายคอยดูแลงานที่ร้านช่วย ซึ่งทำกันแบบครอบครัว จ้างกันเอง ไม่มีระบบโปรแกรมอะไรช่วยบริหารทั้งสิ้น
คราวนี้เมื่อธุรกิจมันต้องโต
ก็ได้ลงเรือลำเดียวกันกับบริษัทที่ทำอยู่ตอนนี้
เพื่อขยายยอดขายช่วงชิงตำแหน่งเบอร์หนึ่งในพื้นที่จ.ร้อยเอ็ด ด้วยยอดขายเป้าหมายในตอนนั้นคือสิบล้านเป็นอย่างต่ำซึ่งก็สามารถทำได้ในเวลาไม่ถึงสองปี
(โตจากยอดขายหลักแสนเป็นสิบล้าน)
โดยการเป็น Distributor ในพื้นที่ตนเอง
#ปัญหาเริ่มมาครับ
เมื่อเราขายดีขึ้น นั่นมันมาจากสมการง่าย ๆ คือ
ยอดขาย = จำนวน x ราคา
เมื่อจำนวนลูกค้ามากขึ้น จำนวนสต๊อกสินค้ามากขึ้นตาม
จำนวนลูกหนี้โตขึ้น รายการรับเงินในแต่ละวันก็ขยับจำนวนรายการเป็นทวีคูณ หากวันไหนขายดีแคชเชียร์และพนักงานทุกคนจะเหนื่อยจนต้องร้องขอชีวิต
นั่นแสดงว่าทุกข้อต่อสามารถมี error ได้
ตามที่ผมได้ร่ายยาวมาในหนังสือตั้งแต่หน้าแรกเลย
การมีร้านแค่สาขาเดียวในตัวอำเภอเมือง(ไม่นับรวมคู่แข่ง)
แต่ต้องรองรับลูกค้าจากต่างอำเภอหลายหมื่นชีวิตที่ทยอยแวะเวียนเข้ามาใช้บริการ ทำให้กระบวนการทำงานต้องปรับใหม่ครั้งใหญ่ตามนี้ครับ
ผมเองเริ่มเข้าไปจัดตั้ง Distributor ในระดับอำเภอ
(เนื้อหาโดยละเอียดเคยลงไว้ในหนังสือร้อยสาขาในตำราเล่มเดียว บทที่เล่าถึง กลยุทธ์ป่าล้อมเมือง) และได้จับมือกับพันธมิตรในพื้นที่ได้ถึง 5 อำเภอ ซึ่งคัดแล้วว่าเป็นอำเภอใหญ่จริง ๆ และ Distributor เหล่านี้สามารถดึงลูกค้าไว้ได้ ไม่ให้หลั่งไหลเข้ามาในเมือง
สิ่งที่เป็นประโยชน์มากขึ้น
ซึ่งผมอยากสรุปให้ฟังคือ
จากที่เราต้องขายของแบบ B2C ก็ปรับเป็น B2B
B2C(Business to Customer) จากบริษัทไปสู่ลูกค้า
B2B(Business to Business) จากบริษัทไปสู่บริษัท
จะเห็นว่าแบบ B2C นั้น เราต้องรับลูกค้าหนักมาก และโอกาสในการพลาดที่จะโดนทุจริตนั้นก็สูงเป็นเงาตามตัว หลังจากใช้กลยุทธ์ใหม่ ก็ต้องรับมือกับลูกค้าเช่นกันแต่จำนวนน้อยลงในระดับหนึ่ง
#ผมสมมุติให้อ่านแบบนี้นะครับ
ผมมีลูกค้ารายใหญ่ในมืออยู่ 10 เจ้า
ซึ่งแต่ละรายก็กระจายกันอยู่ตามอำเภอใหญ่ ๆ
พอแบ่งสรรปันส่วนกันลงตัว
ผมก็โยกลูกค้ารายใหญ่เหล่านี้ไปซื้อตรงกับ Distributor
ที่ผมตั้งไว้ใน 5 อำเภอ
ผลสรุปก็ Happy โดยลงตัวที่ว่า
1. ผมไม่ต้องรับลูกค้าเองทั้ง 10 ราย
2. ลูกค้า 10 รายนี้ก็ไม่ได้หายไปไหน แต่ซื้อกับ Distributor ของเราอีกที
3. ผมไม่ต้องจ้างลูกน้องเพิ่มมากมาย เช่น ไม่ต้องไปส่งของให้ ช่วยลดค่าน้ำมัน เป็นต้น
4. ความเสี่ยงเรื่องลูกหนี้น้อยลง เพราะเราก็ดูแลแค่ Distributor
5. มีเวลาไปลงรายละเอียดงานส่วนอื่น นอกจากงานขาย
6. อื่น ๆ อีกมากมาย ด้วยเหตุผลที่ว่า Distributor เป็นคนในพื้นที่ รู้จักพฤติกรรมลูกค้าในตัวอำเภอได้ดีกว่าเราซะอีก เหมือนเราได้เพื่อนคู่คิด ได้มิตรร่วมสร้างธุรกิจไปพร้อมกัน
#เป็นอย่างไรกันบ้างครับ
พอจะเห็นแนวทางในการขยายธุรกิจแบบคร่าว ๆ แล้วใช่มั้ย ซึ่งการขยายในลักษณะนี้เห็นกันได้บ่อยที่เราเรียกกันว่าขายแฟรนไชส์
**ผู้ที่จะขายแฟรนไชส์ต้องมีพร้อมแล้วทั้งสินค้า ทั้งแบรนด์รวมถึงระบบบริหารจัดการร้านจึงจะประสบความสำเร็จได้**
สำหรับภาพใหญ่ในประเทศไทย ผมอยากนำเสนอแบบนี้ครับ
คุณเป็นเจ้าของกิจการที่อยากขายสินค้าไปให้ทั่วถึงทุกพื้นที่ในไทยคุณก็ต้องเริ่มปวดหัวเล็กน้อยถึงปานกลางว่าจะก้าวอย่างไร
ด้วยข้อมูลสำรวจแบบคร่าว ๆ จากกรมการปกครอง
ข้อมูลด้านประชากรในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2562 (อัพเดทล่าสุด 31 ธันวาคม 2561)
– จำนวนประชากรทั้งประเทศ 66,413,979 คน
– ชาย มีจำนวน 32,556,271 คน
– หญิง มีจำนวน 33,857,708 คน
ข้อมูลการปกครองส่วนภูมิภาค ประเทศไทย ปี พ.ศ. 2562
– จำนวนจังหวัด 76 จังหวัด
– จำนวนอำเภอ 878 อำเภอ
– จำนวนตำบล 7,255 ตำบล
– จำนวนหมู่บ้าน 75,032 หมู่บ้าน
ทีนี้ให้หยุดสายตาไว้ที่จำนวนอำเภอก็แล้วกัน คือ 878 อำเภอ หากคุณอยากตีตลาดที่อำเภอคุณต้องพูดคุยกับคนถึง 878 คนโดยประมาณ
ลองคิดใหม่อีกที และทำใหม่อีกหน โดยหยุดสายตาที่จำนวน 76 จังหวัด จะเห็นว่าตัวเลขไม่เยอะมากใช่มั้ยล่ะครับ น่าลุ้นหน่อย
จากการที่ลุยทั้ง 878 อำเภอ ก็ลดลงมาแค่ 76 จังหวัด
หากคุณสามารถจัดตั้ง Distributor ได้สำเร็จ ก็เท่ากับว่าได้ลดเวลาที่ต้องไปคุยกับใครเยอะแยะ และหันมาใช้เวลาในการคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติตรงตามต้องการให้นานขึ้น
ในมุมของแฟรนไชส์จะใช้คำว่า Master Franchise ซึ่งลักษณะการจัดการก็ละม้ายคล้ายกัน คือหาตัวแทนในพื้นที่ดูแลทั้งหมด
แม้กระทั่งแฟรนไชส์ข้ามชาติเองก็ไม่ได้ข้ามมาขยายเอง หากแต่คัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเพียบพร้อมในพื้นที่ให้ลงมือทำแทน เช่น KFC ,McDonald,7-Eleven ฯ เยอะแยะเต็มไปหมด
#ทุกท่านครับ
เมื่อเราจัดตั้ง Distributor ได้มากขึ้นจนถึงขั้นครอบคลุมพื้นที่ก็ถือว่าสำเร็จไปในระดับหนึ่ง งานต่อไปที่จะงอกขึ้นมานั่นคือ
ฝึกเขาเหล่านั้นให้มีทักษะการตรวจสอบภายใน
หรือควบคุมกิจการได้ ซึ่งหนังสือเล่มนี้สามารถให้ความรู้ได้อย่างแน่นอน แต่ก็ต้องฝากว่าอย่าได้นิ่งนอนในกับเรื่องทุจริตเป็นอันขาดเพราะมันจะมีรูรั่วใหม่ ๆ ได้เสมอ
หากทุกท่านอยากร่วมแชร์ประสบการณ์โดนโกงก็สามารถทักมาที่ผู้เขียนได้เลย เพื่อเป็นวิทยาทานกับผู้อื่นและบีบให้พวกทุจริตชนไร้ที่ยืนในสังคมโดยเร็ว
ขอบคุณครับ
ธนบรรณ สัมมาชีพ
———————–
⭐กดติดดาวเพจ (See first) เพื่อรับคอนเทนต์
บทความ ข่าวสาร แนวคิดดี ๆ ที่จะช่วยให้การทำ
ระบบแฟรนไชส์ของคุณมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง
#สอนทำแฟรนไชส์#ทำรายได้100เท่าใน1ปี
ติดตามและอ่านทุกบทความจากผมที่
http://www.2bfranchisedd.com/
======
พื้นที่โฆษณา
ท่านที่สนใจเรียนการทำแฟรนไชส์
“พื้นฐานแน่น แฟรนไชส์ปัง!!!”
สามารถสมัครเรียนออนไลน์ได้ที่
https://goo.gl/2yWzbc
หรือ inbox มาเลย ผมรออยู่
ขอบคุณครับ