เข้าใจคำว่าติดยี่ห้อใช่มั้ยครับ ?
มันเป็นพฤติกรรมของผู้บริโภคทุกสมัยเลย
ไอ้คำว่า “ติดแบรนด์” หรือ “ติดแฟรนไชส์”
มันก็คล้ายกันนั่นแหล่ะครับ
ไก่ทอดมีตั้งหลายเจ้า
แต่ทำไมคนไทยตั้งแต่เด็กอนุบาลจนถึง
ปริญญาตรียังชอบกินไก่ผู้พันจากรัฐเคนตั๊กกี้
สุกี้แบบครอบครัวก็มีกันทุกซอย
แต่คนไทยก็ยังติดไปกินในห้างและเดินเข้า
ร้าน MK อยู่ไม่ขาดสาย
ซึ่งมีอีกเยอะ ไม่ใช่แค่วงการอาหารเท่านั้น
แสดงออกว่า ด้วยอานุภาพของแบรนด์แล้ว
มันสามารถทำให้ธุรกิจมีความแข็งแกร่ง
สามารถแข่งขันได้อย่างสนุก
ต่อจากตอนที่แล้วที่ผมได้กล่าวว่า
แบรนด์ไม่ใช่แค่มีโลโก้แล้วจบ
แต่มันคือ ทุกสิ่งที่รวมตัวกันขึ้นมา
เช่น โลโก้, สโลแกน , สีที่เลือกใช้กับ
ทั้งตัวสินค้าและตัวร้าน และสิ่งที่ทำให้
บางแบรนด์ดูมีคุณค่าสูงเกินคู่แข่งนั่นคือ
ประสบการณ์ที่มอบให้ลูกค้า หรือวัฒนธรรม
องค์กร สรุปว่า องค์ประกอบทั้งหมดที่เล่ามา
หากได้รวมอยู่ในแบรนด์ของเราแล้ว
การจะขายแฟรนไชส์ก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
คนที่จะซื้อแฟรนไชส์เราไปขาย
เขาไม่อยากมาลำบากปลุกปั้นแบรนด์เองหรอกครับ
ถ้าทำได้ เขาคงไปทำเองแล้ว
ดังนั้น ผู้ขายแฟรนไชส์ต้องทำแบรนด์ให้ดัง
คิดง่าย ๆ แบบนี้นะครับ
ถ้าวันนี้ขายของได้ปีละล้านอยู่แล้ว
พอผ่านไปหนึ่งปีก็คงล้านนิด ๆ หน่อย ๆ
เช่น ยอดขายโตขึ้นปีละ 10%
หากลงทุนกับการสร้างแบรนด์
อาจทำให้ขายได้ปีละห้าล้าน
มีคนแห่มาขอซื้อแฟรนไชส์เยอะขึ้น
เพราะอยู่ในใจลูกค้า หรือติดตลาดไปแล้ว
ไว้พรุ่งนี้ผมมาสรุปอีกที
ขอบคุณที่รออ่านตอนจบ
จากใจเพจ #ระบบแฟรนไชส์#ง่ายนิดเดียว
======
สนใจเรียนคอร์สออนไลน์
“พื้นฐานแน่น แฟรนไชส์ปัง”
เหมาะสำหรับท่านที่อยากเพิ่มสาขา
ด้วยระบบแฟรนไชส์
คลิกที่
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=2811749469050069&id=2158094987748857
======
ทุกท่านสามารถติดตาม…
www.2bfranchisedd.com
“นำเสนอปรัชญาชีวิต สร้างแรงผลักดัน
แรงบันดาลใจในการทำงานให้กับคนทำงาน
พร้อมให้คำแนะนำสำหรับผู้ประกอบการ
ที่สนใจขยายสาขาด้วยระบบแฟรนไชส์
อย่างจริงจัง”
ขอบคุณครับ
ธนบรรณ สัมมาชีพ